วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

ระบบน้ำหยดมันสำปะหลัง

@ ระบบน้ำหยดนั้น มีข้อดีอยู่มากมาย เช่น ประสิทธิภาพการให้น้ำสูงมาก ประหยัดน้ำ สามารถใช้ได้กับพืชและดินหลากหลายชนิด แม้ว่าในระบบน้ำหยดจะเข้ามาในประเทศไทยหลายสิบปีแล้วก็ตาม แต่ระบบน้ำหยดพึ่งจะเข้ามามีบทบาทในวงการเกษตรเมืองไทยเมื่อไม่กี่ปี สาเหตุสำคัญนอกจากเรื่องเงินลงทุนที่ค่อนข้างสูง และความยากในการออกแบบติดตั้งแล้ว ปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งคือ ปริมาณน้ำต้นทุนในเมืองไทยที่มีปริมาณจำกัดมากกว่าในอดีต ฤดูกาลที่เปลี่ยนไป การทำการเกษตรน้ำฝนจึงเป็นการเสี่ยงต่อการขาดทุนมากในปัจจุบัน 

@ การออกแบบระบบน้ำหยดนั้น ไม่ได้ยากไปกว่าการออกแบบระบบสปริงเกลอร์เลย เพราะใช้หลักการแนวคิดเดียวกัน ต่างกันแค่ในส่วนของหัวจ่ายน้ำ หากผู้ออกแบบเข้าใจในหลักการของระบบสปริงเกลอร์แล้วก็สามารถทำระบบน้ำหยดได้โดยไม่ยาก 

@ บทความบทนี้ จะแนะนำการติดตั้งระบบน้ำหยดในไร่มันสำปะหลัง ซึ่งผู้เขียน และทีมงานได้เป็นที่ปรึกษาให้กับรุ่นพี่ของผู้เขียนเอง คือ ดร.ฮิ ก่อนจะรวมกันกันได้เพราะ ดร.ฮิ มีความต้องการอยากจะติดตั้งระบบน้ำหยดในไร่มันสำปะหลังจำนวน ๓๐ ไร่ และก็พยายามสืบค้นข้อมูลหาวิธรการออกแบบจากแหล่งข้อมูลต่างๆ จนท้ายที่สุดก็ใช้วิธีโทรศัพท์มาถามพรรคพวกซึ่งก็แนะนำมาที่ผู้เขียนและรุ่นน้อง ซึ่งก็รับงานเพราะเป็นพรรคพวกกันมา โดยจะช่วยในส่วนของการออกแบบและแนะนำการติดตั้งให้ เมื่อได้คอนเซปหรือแนวทางการออกแบบคร่าวๆแล้ว ก็มาวางแผนกันทำงาน โดย ดร.ฮิ ได้ดำเนินการขอไฟฟ้าจากการไฟฟ้า จ้างช่างมาเจาะบาดาลไว้รอ (เจาะอย่างเดียว ปั๊มจะเอาลงกันเอง) เริ่มแรกจะติดตั้งก่อนจำนวน ๑๕ ไร่ เพราะอีก ๑๕ ไร่ยังขุดมันยังไม่ได้ขุดหลัง แต่ระบบที่ออกแบบออกแบบไว้ ๓๐ ไร่ จึงไม่มีปัญหาใดๆ เมื่อทุกอย่างพร้อมทางรุ่นน้องผู้เขียนก็ส่งแบบและรายการอุปกรณ์ไปให้ เพื่อจัดเตรียมซื้อของไว้รอ เมื่อทุกอย่างพร้อมก็ผู้เขียนและรุ่นน้องก็มุ่งหน้าไปสู่โคราชกันทันที เพราะมีเวลาทำงานแค่ ๒ วัน คือเสาร์อาทิตย์ กับพื้นที่ ๑๕ ไร่     

@ ข้อมูลทางเทคนิค
   - ปั๊ม Submersible ยี่ห้อ Pedrollo ขนาด ๑.๕ กิโลวัตต์ คิวออกแบบ ๖,๐๐๐ ลิตรต่อชั่วโมง เฮดออกแบบ ๖๐ เมตร ,บ่อบาดาลลึก ๔๐ เมตร
    - ท่อเมนใช้ขนาด ๒ นิ้วเพื่อลดเฮดสูญเสียในท่อ ใช้ท่อยี่ห้อ ท่อน้ำไทย ชั้น ๘.๕
    - ท่อเอชดีพีอีที่ใช้ต่อกับปั๊ม ใช้ PN 10
    - เทปน้ำหยดยี่ห้อ Plastro ระยะรูหยด (Spacing) ๓๐ ซม. อัตราการหยด ๑ ลิตรต่อชั่วโมง ผลิตที่อิสราเอล ที่เลือกเทปยี่ห้อนี้เพราะสามารถใช้ความยาวต่อเส้นได้ยาวกว่ายี่ห้ออื่นๆในท้องตลาด คือสามารถใช้ความยาวต่อเส้นได้ประมาณ ๒๒๐ เมตร โดยที่ปริมาณน้ำที่หยดยังคงสม่ำเสมอ

*** ค่าลงทุนระบบมินิสปริงเกลอร์ สปริงเกลอร์ และน้ำหยด จะอยู่ที่ประมาณ ๖,๐๐๐ - ๑๐,๐๐๐ บาทต่อไร่ นะครับ  


@  สิ่งสำคัญในการออกแบบระบบน้ำทุกครั้งคือ แนวทางการออกแบบหรือ  Concept Design  เพราะการออกแบบระบบน้ำนั้นไม่มีรูปแบบที่ตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนได้หลากหลายรูปแบบตามแนวทางของผู้ใช้งาน ตัวอย่างในบทความนี้ก็เช่นเดียวกัน ทำตามแนวทางของผู้ใช้งานที่ต้องการติดตั้งระบบน้ำหยดสำหรับมันสำปะหลังโดยใช้น้ำบาดาลเป็นน้ำต้นทุน และต้องการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ค่อนข้างดีโดยเฉพาะเทปน้ำหยดนั้นเลือกใช้ยี่ห้อ Plastro ที่มีข้อเด่นหลายประการโดยเฉพาะสามารถวางระยะต่อแถวได้ยาวเกิน ๒๐๐ เมตรและเป็นเทปน้ำหยดแบบแถบรูหยุดยาวตลอดช่วยให้การอุดตันนั้นยากกว่าแบบอื่นๆ

@ ผู้เขียนเห็นว่าปัจจุบันเกษตรกรมีการลงทุนติดตั้งระบบน้ำหยดสำหรับพืชไร่มากยิ่งขึ้น จึงคิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับเกษตรกรทั่วไป ระบบที่นำมาให้ดูนี้ไม่ได้ดีที่สุดเพราะผู้เขียนเองไม่มีความสามารถในการออกแบบและติดตั้งขนาดนั้น แต่ผู้เขียนยึดแนวทางการออกแบบและทำงาน "ไม่จำเป็นต้องดีที่สุด ขอให้เหมาะสมที่สุดก็เป็นพอ"

- ก่อนที่ผู้ออกแบบจะลงมือออกแบบ ผู้ออกแบบควรเขียนข้อมูลเบื้องต้นต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการออกแบบด้วยทุกครั้ง


- ผังขอบเขตพื้นที่


- แบบผังการออกแบบระบบ


- แบบชุดควบคุมหัวแปลง


- เข้าสู่การคำนวณ  

- การหาขนาดท่อ

- การหาเฮดสูญเสียในท่อส่งน้ำ


- การหารอบเวรในการเปิดให้น้ำ

- การหาเวลาในการเปิดให้น้ำ

- การคิดค่าไฟฟ้าในการใช้งานระบบ

- รูปการติดตั้งปั๊มบาดาล หย่อยลงไป ๓๕ เมตร 


- ประกอบชุดควบคุมหัวแปลง


- เจาะรูท่อ Sub-main เพื่อติดตั้งข้อต่อเทปน้ำหยด


- เครื่องมือเจาะครับ หัวเจาะหัวนี้ ๑,๐๐๐ กว่าบาท แพงไปครับ ใช้โฮลซอว์แทนก็ได้ครับ ถูกกว่าเยอะ


- เจาะแล้วก็ติดตั้งข้อต่อเลย


- แบ่งหน้าที่ดีๆ แป๊บเดียวชุดควบคุมหัวแปลงก็เสร็จเรียบร้อย


- เสร็จแล้วก็ยกไปประกอบได้


- ประกอบท่อเสร็จก็มาวางเทปน้ำหยดกัน ม้วนละ ๒,๒๐๐ เมตร ราคาเมตรละ ๓.๒ บาท


- ลากไปเลยให้สุดแปลง



- ชุดแรก ๑๕ แรก ชุดหลังอีก ๑๕ ไร่


- ติดตั้งเทปน้ำหยดได้


- ทดสอบดู ๑ โซนให้เจ้าของได้ชื่นใจ และเพื่อตรวจสอบว่าได้ตามที่ออกแบบให้หรือไม่ ที่เหลือเจ้าของแปลงวางต่อเอง



- แรงดันใช้งานระบบ เกือบ ๑.๙ บาร์ ใกล้เคียงกับที่ออกแบบมาก (ฟลุ๊คอีกแล้ว) แรงดันใช้งานระบบน้ำหยด ควรอยู่ที่ประมาณ ๑ - ๑.๕ บาร์ ถ้ามากกว่านี้ก็ใช้วาล์วลดแรงดันหรือวาล์วควบคุมแรงดันช่วยเท่านี้ก็สมบูรณ์แบบ


- ตรวจสอบคุณภาพน้ำโดยการเช็คตะกอนที่กรองหลังจากลองเปิด การล้างกรองนี้แนะนำให้ทำบ่อยๆ ป้องกันตะกอนจับกันแน่นที่แผ่นกรอง


- ถ่ายรูปกับ ดร.ฮิ เจ้าของแปลงหน่อย  


- ทีมงานเฉพาะกิจ ทำทุกงานตั้งแต่งานสวนหย่อมถึงระบบน้ำเกษตร



@ บทความนี้จบกันเท่านี้ หวังว่าจะช่วยเป็นแนวทางให้แก่ผู้ที่สนใจได้ ข้อสำคัญของผู้ออกแบบระบบน้ำที่ดีคือ ต้องตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้ และสามารถทำงานได้ภายใต้เงื่อนไขที่มี ไม่จำเป็นต้องดีที่สุดขอให้ดีที่สุดก็พอ เพราะคำว่าพอเพียงของแต่ละคนไม่เท่ากัน

@ แปลงนี้รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งงานไฟฟ้า เจาะบ่อบาดาล จ้างที่ปรึกษา (เล็กน้อย) ค่าอุปกรณ์ใช้เกรดบีถึงเกรดเอ จนถึงติดตั้งระบบ รวมประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ บาท ผลผลิตที่คาดไว้เบื้องต้นต้องการเพิ่มจากเดิมไร่ละประมาณ ๒-๓ ตัน ซึ่งจะช่วยให้สามารถคืนทุนการลุงทุนได้ตั้งแต่ปีแรกหรืออย่างช้าไม่เกินปีที่ ๒ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคามันในแต่ละปีอีกด้วย


นายธราวุฒิ  ไก่แก้ว
วิศวกรการเกษตร
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
๒๗ เมษายน ๒๕๕๕ 





  

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

การติดตั้งปั๊มบาดาลอย่างง่าย

@ บทความนี้จริงๆ ควรจะรวมอยู่กับเรื่องระบบน้ำหยดมันสำปะหลัง เพราะเป็นปั๊มที่ผมไปติดตั้งในแปลงมันสำปะหลัง แต่ผมเห็นว่าการเอาไปรวมกันอาจจะยากต่อการสืบค้นจึงได้แยกเรื่องกัน มาตั้งเป็นเรื่องการติดตั้งโดยเฉพาะ ในบทความต่อไปจะพูดถึงเรื่อง ตัวอย่างการติดตั้งระบบน้ำหยดในมันสำปะหลัง

@ ปกติผมมักพบเจอเกษตรกรหลายๆ รายประสบปัญหาการติดตั้งปั๊มบาดาล เนื่องจากทำได้ยากกว่าปั๊มหอยโข่ง ทั้งยังต้องหย่อนตัวปั๊มลงไปในบ่ออีกด้วย แต่จากที่เคยทำมารายล่าสุดพบว่าสามารถทำได้ไม่ยาก ทั้งการติดตั้งและถอดขึ้นมาซ่อมบำรุง

หลักใหญ่ใจความก็ไม่มีอะไรครับ เพียงแต่ท่อที่ใช้จากที่เคยใช้ท่อเหล็กกัลวาไนซ์หรือท่อพีวีซีซึ่งเวลาหย่อนจะต้องต่อทีละท่อนๆ ก็เปลี่ยนมาใช้ท่อเอชดีพีอีหรือท่อดำแทนเพราะท่อพีอีนั้นยาวพอที่จะหย่อนลงไปได้เลยโดยไม่ต้องต่อ ทั้งนี้เวลาหย่อนก็สามารถทำเองได้เวลายกขึ้นก็สามารถยกขึ้นได้ง่ายอีกเช่นกัน หมดความกังวลไปได้เลยทีเดียว
เรื่องปั๊มไหม้เนื่องจากน้ำหมดบ่อก็เป็นปัญหาใหญ่เพราะผู้ใช้ไม่สามารถมองเห็นน้ำที่อยู่ในบ่อ ก็แนะนำว่าในการติดตั้งปั๊มบาดาลให้ติดตั้ง Flow switch เข้าไปด้วย ๑ ตัว แค่นี้ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำจะหมดบ่อเมื่อไหร่ หมดเมื่อไหร่ปั๊มตัดเมื่อนั้น เพียงเท่านี้ การติดตั้งปั๊มบาดาลก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

@ การคิดเฮดสำหรับปั๊มบาดาลนั้น จะคิดต่างจากปั๊มหอยโข่ง ตรงที่เฮดสตาติกจะไม่คิดจากระดับผิวน้ำ แต่จะคิดจากระดับความลึกที่หย่อนปั๊มลงไป เช่น หย่อนปั๊มลงไป ๓๐ เมตร ก็จะได้ เฮดสตาติกเท่ากับ ๓๐ เมตร ส่วนเฮดอื่นๆก็คิดได้เหมือนปกติครับ

เรามาดูวิธีการติดปั๊มบาดาลอย่างง่ายๆ นะครับ บทความนี้อย่าถือเอาเป็นหลักวิชาการนะครับ เพราะผมก็ทำตามประสบการณ์และความรู้อันน้อยนิด ถ้าเห็นว่าเป็นประโยชน์จะเอาไปใช้บ้างก็ยินดีครับ


- บ่อที่จะติดตั้งนี้ใช้พึ่งเจาะใหม่ๆ เพื่อให้ง่ายในการติดตั้งปั๊มบาดาลขนาดทั่วไป ๔" จึงเจาะบ่อขนาด ๖" ความลึกที่ ๔๐ เมตรพอดิบพอดีครับ ในรูปกำลังเตรียมอุปกรณ์ ทั้งปั๊ม สายไฟ ท่อเอชดีพีอี (PN 10) 



- นี่หน้าตาปั๊มบาดาล หรือ Submersible Pump ขนาด ๑.๕ กิโลวัตต์ เฮดสูงสุด ๘๗ เมตร อัตราการไหล(คิว) สูงสุด ๙,๐๐๐ ลิตรต่อนาที แต่จุดที่ใช้ออกแบบอยู่ที่เฮด ๖๐ เมตร ที่คิว ๖,๐๐๐ ลิตรต่อชั่วโมง ยี่ห้อ Pedrollo เมดอินอิตาลี 


- เอ้าช่วยกันหย่อนลง เวลาหย่อนปั๊มระวังอย่าให้สายไฟถลอกหรือเป็นรอยนะครับ อันตรายที่สุด  


- สิ่งที่ต้องต่อคือ ข้อต่อตรงเกลียวนอกพีอีเข้ากับปั๊มแล้วก็ต่อเข้ากับท่อพีอีขันล็อคให้แน่น ผูกเชือกเข้ากับปั๊มสำหรับห้อยปั๊มกับปากบ่อ ข้อควรระวังคือ อย่าให้ท่อพีอีและข้อต่อรับน้ำหนักปั๊มนะครับไม่งั้นหลุดแน่ๆ ให้ใช้เชือกรับน้ำหนักแทนนะครับ เมื่อทุกอย่างพร้อมก็หย่อนลงไปเลยครับ ดังในรูป จะเห็นเชือกผูกรั้งเอาไว้ ให้ได้ระดับที่ต้องการโดยให้ปั๊มห่างจากก้นบ่อซักเล็กน้อยไม่น้อยกว่า ๐.๕ เมตร ของผมให้ห่างประมาณ ๕ เมตร กันทรายที่มากับน้ำ 


- ดูกันชัดๆ ครับ ท่อที่เหลืออย่าพึ่งตัดนะครับ


- ที่ยังไม่ให้ตัดท่อเพราะเอาไว้ทดลองปั๊มก่อน ของผมแม้จะลูกทุ่งยังไง แต่แทบทุกครั้งที่ติดตั้งปั๊มและที่ขาดไม่ได้คือ โวลต์มิเตอร์และแอมป์มิเตอร์ เอาไว้ตรวจสอบการทำงานของปั๊ม จะได้รู้เลยว่าปั๊มทำงานปกติหรือเปล่า ไฟเข้าปกติหรือเปล่า ลงทุนเพิ่มอีกนิดแต่คุ้มค่าครับ ในรูปหลังจากเอาปั๊มลงแล้วก็ลองปั๊มกันเลย จากนั้นก็มาดูค่าต่างๆที่ได้ เทียบกับสเปคปั๊มจากผู้ผลิต พบว่าปกติดีแอมป์ขนาดนี้เหมาะสมและไฟไม่ตกครับ  


- นี่หน้าตาตู้ชัดๆ อ๊อฟชั่นแล้วแต่เราจะใส่ครับ แต่ปกติที่พบเห็นมักจะใช้เป็นเบรกเกอร์ตัวเดียวแทน ใช้ได้เหมือนกันครับ แต่จะไม่มีระบบเซฟตี้อะไรเลย หลักการผมคือให้ปั๊มพังเป็นจุดสุดท้าย เพราะเปลี่ยนตู้คอนโทรลง่ายกว่าเปลี่ยนปั๊มครับ  


- ท่อที่เหลือก็สามารถนำมาใช้เป้นท่อเมนได้นะครับ ไม่เหลือทิ้งแน่นอน


- ต่อชุดควบคุมหัวแปลงไปพลางๆ




- ในระหว่างนั้นก็เปิดน้ำทิ้งไว้ดูซิน้ำจะหมดบ่อไหม และใช้เวลากี่นาทีน้ำจะหมดบ่อ ถ้าหมดบ่อแล้วก็จับเวลาดูว่าใช้เวลาเท่าใดน้ำจะเติมบ่อจนเต็ม บ่อนี้สูบไว้ ๖ ชั่วโมงยังไม่มีทีท่าว่าจะหมด วัดระดับที่ยุบลงแค่ไม่กี่เมตร แสดงว่าน้ำเหลือเฟือที่จะใช้ในแต่ละวัน


- ระหว่างรอน้ำก็ต่อชุดควบคุมหัวแปลงเสร็จเรียบร้อย


- ให้ดูการต่อท่อพีอีเข้ากับท่อพีวีซีชัดๆครับ


- ตัวนี้คือ Flow Switch ครับเหมือนลูกลอยไฟฟ้า ตัวนี้เอาไว้ป้องกันน้ำแห้งบ่อครับ จากรูปจะเห็นใบพายตรงเกลียวทองเหลือง ถ้าบ่อบาดาลแห้งและไม่มีน้ำไหลผ่านใบพายก็จะไม่ขยับวงจรก็จะไม่ครบปั๊มก็จะตัดครับ  


- รูปแนะนำการติดตั้งซึ่งผู้ผลิตจะแนบมาด้วยครับ ไม่ต้องกลัวว่าจะติดตั้งไม่ถูก



@ เพียงเท่านี้เราก็สามารถติดตั้งปั๊มบาดาลได้เองแล้วครับ จะดึงขึ้นมาซ่อมหรือจะเอาลงก็ง่ายครับ เครื่องมือที่ใช้ก็ไม่มากไม่ต้องมีรอกช่วย ซึ่งผมเชื่อว่าไม่ยากเกินไปที่จะทำได้ครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ใช้ปั๊มบาดาลนะครับ อย่าไปประหยัดกับอุปกรณ์เซฟตี้นะครับ ไม่งั้นจะเข้าทำนอง เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย


นายธราวุฒิ  ไก่แก้ว
วิศวกรการเกษตร
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
๒๖ เมษายน ๒๕๕๕



วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

โครงการสวนครัวน้ำหยด(เพื่อน้อง)

โครงการสวนครัวน้ำหยด(เพื่อน้อง) เป็นโครงการในฝันที่คิดอยากจะทำมานาน คิดไว้เสมอว่าหากวันใดวันนึงมีโอกาสจะทำให้จงได้ และตอนนี้ถึงวันนี้ผมได้ดำเนินการไปแล้ว ๔ โรงเรียนครับ ที่บุรีรัมย์ ๒ โรงเรียน โคราช ๒ โรงเรียนครับ ความสำเร็จของโครงการนั้นไม่ได้คาดหวังอะไรมากไปกว่าอยากส่งเสริมและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านระบบการให้น้ำพืชที่สามารถใช้งานได้จริงในราคาที่ไม่แพงเกินไป เหมาะสมสำหรับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปครับ

ที่มาของโครงการนั้น แม้จะคิดอยากจะทำมานานแต่ก็ใช้ระยะเวลานานกว่าจะมั่นใจในระบบจริงๆ ซึ่งจากการทำโครงการนำร่องเรื่องสวนครัวน้ำหยดในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ทำให้ค่อนข้างจะมั่นใจในข้อดีต่างๆ ของรูปแบบการทำสวนครัวน้ำหยด แต่ทั้งนี้องค์ความรู้นี้ยังไม่ได้รับการเผยแพร่ออกไปสู่เกษตรกรเท่าใดนัก

ถึงอย่างนั้นก็ตาม ผมก็มีความฝันอยู่อย่างหนึ่ง คือจากการชมข่าวของภารกิจโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแล้ว เห็นว่าทางโรงเรียนมีโครงการอาหารกลางวันเด็กนักเรียน โดยมีการปลูกผัก และเลี้ยงสัตว์เป็นต้น แต่จากการเฝ้าสังเกตในภาพข่าว ผมพบว่าการปลูกผักของเด็กนักเรียนนั้น ยังเห็นเด็กตัวเล็กๆ ชั้นประถมศึกษาหิ้วน้ำจากสระน้ำมารดน้ำต้นไม้อยู่ ซึ่งตรงนี้นี่เองที่ทำให้ผมอยากจะเข้าไปช่วยเหลือ โดยการนำระบบสวนครัวน้ำหยดเข้าไปติดตั้งให้เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของเด็กนักเรียน และเป็นการส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีการเรียนรู้เรื่องระบบน้ำไปในตัว ซึ่งจะช่วยให้เด็กนักเรียนสนุกกับการปลูกพืชได้

โครงการนี้จึงถือว่าเป็นการต่อยอดโครงการสวนครัวน้ำหยดด้วยเช่นกันครับ 
งบประมาณในการดำเนินการนั้น ส่วนหนึ่งได้มากจากการขอรับบริจาคจากพี่ๆที่ทำงานใน ส.ป.ก. ครับ ซึ่งก็ได้ให้ความอนุเคราะห์อย่างดียิ่ง อีกส่วนหนึ่งก็ได้ครับการสนับสนุนจาก เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีครับ ส่วนเรื่องการประสานกับโรงเรียนต่างๆในจังหวัดบุรีรัมย์ก็ได้ พี่จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต ๒ (น่าจะเขต ๒ นะครับ) ช่วยประสานงานให้ ต้องขอขอบพระคุณผูเกี่ยวข้องและสนับสนุนมากๆครับ

จาก ส.ป.ก. สู่โรงเรียน

 
- อันนี้เป็นโปรชัวร์ที่ทำออกมาเพื่อชี้แจงโครงการครับ (ไม่ได้เอามาประกาศรับบริจาคนะครับ)


ก้าวเล็กๆของผม


@ ไปเริ่มกันเลยนะครับ รายละเอียดของระบบสวนครัวน้ำหยดสามารถหาอ่านได้บทความก่อนหน้านี้นะครับ 

๑. โรงเรียนหนองตะครอง อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์

- ออกเดินทางจากกรุงเทพ ๐๓.๐๐ น. มุ่งหน้าสู่นครราชสีมา โดยจุดหมายแรกคือการไปรวมพลกับทีมจากเทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนธานีสุรนารี (มทส.) ถึง มทส. ประมาณ ๐๖.๐๐ น. ตรวจเช็คของให้พร้อม ของพร้อมคนพร้อมรถพร้อม ก็มุ่งหน้าไปที่ อ.ละหานทราย ได้เลย


- ถึงโรงเรียนแล้ว พูดคุยกับคณะอาจารย์ที่มาคอยอำนวยความสะดวกต่างๆ แล้วก็สำรวจสถานที่กันเลย นี่คือแปลงที่ทางโรงเรียนมีอยู่แล้วและต้องการติดตั้งระบบสวนครัวน้ำหยด


- อันดับแรกก็ต้องหาที่ตั้งถังพักกันก่อน นี่ไงเจอแล้ว ใช้เป็นแท่นรองอย่างดีทีเดียว


- อธิบายที่มาที่ไปให้ความรู้นิดๆหน่อยๆก็มาลงมือกันเลย ช่วยกันทั้งอาจารย์และเด็กนักเรียน


- ช่วยกันๆ


- ติดตั้งสายเทปน้ำหยด


- แนะนำวิธีพับปลายสาย


-ลองทำเองดูซิ


- เสร็จเรียบร้อย ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกหน่อย เป็นการเริ่มต้นโครงการโรงเรียนแรกครับ


๒. โรงเรียนส้มป่อย อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์

- วันที่สองตรงกับวันอาทิตย์ ก็เดินทางไปทำโครงการอีก ๑ โรงเรียนครับ ขนของกันแบบนี้เลย


- ขนอุปกรณ์ลงครบก็ลุยเลย เด็กๆ น่ารักมาก 


- ช่วยกันเตรียมแปลงกันก่อน


- รับแจกกระเป๋าจากนางฟ้าใจดี มทส.


- น้องๆตั้งใจดีมาก วันนี้แดดร้อนพี่ๆ เทคโนธานี ซื้อขนมกับน้ำมาฝากให้ชื่นใจ จะได้มีแรงทำงานกันต่อ 


- เสร็จแล้วก็มานั่งฟังเอาความรู้กันหน่อย


- บรรยากาศสบายๆ คุยกันสนุกสนาน


- อธิบายกันชัดๆ อุปกรณ์แต่ละตัวทำหน้าที่อะไร


- อธิบายเสร็จก็ลองกันเลย เด็กๆ ช่วยกันอย่างตั้งใจ


- ให้ทำเองทั้งหมด


- โรยสายเทปน้ำหยด


- เจาะท่อเพื่อติดตั้งข้อต่อ


- ออกแรงกันหน่อย


- ใกล้แล้วๆ


- เตรียมล้างท่อได้


- พี่ๆ สอนพับปลายสาย


- น้ำออกแล้ว


- ดูดีทีเดียว


- ถ่ายรูปหน่อย


- เด็กๆก็ดีใจ คนทำโครงการก็ปลื้มใจ


๓. ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ โรงเรียนสะแกราช ที่นี่อาจารย์แจ้งว่าต้องการจะปลูกมะละกอ ซึ่งผมเองก็ไม่มีปัญหาแต่ประการใด เพียงดัดแปลงระบบนิดหน่อยจากเทปน้ำหยดมาเป็นหัวน้ำหยดชนิดชดเชยแรงดัน ก็ใช้ได้แล้วครับ


- ตั้งใจกันมากๆ


- เตรียมเริ่มงานกันได้


- ช่วยกันคนละไม้คนละมือ


- วางท่อพีอี


- เป็นรูปเป็นร่างแล้ว


- จัดท่อพีอีให้ได้ตามที่ต้องการ


- เจาะท่อเพื่อติดหัวน้ำหยด


- น้องๆพับปลายสายหลังจากที่ล้างท่อเสร็จแล้ว


- จะพืชชนิดไหนระบบสวนครัวน้ำหยดก็ตอบสนองความต้องการได้ครับ


- เห็นภาพนี้แล้วก็ชื่นใจหายเหนื่อย



- ระบบสวนครัวน้ำหยด ใช้ได้จริงติดตั้งง่าย




- ดีใจทั้งอาจารย์ทั้งลูกศิษย์


๔. โรงเรียนสมเด็จพระธีรญาณมุนี


- น้องๆช่วยกันหาแท่นตั้งถังพักน้ำ


- นั่งฟังบรรยาย


- ตั้งอกตั้งใจกันดี


- ช่วยกันเจาะถังก่อน โดยมี ดร.ฮิ ช่วยสาธิตวิธีการเจาะให้


- เจาะแล้วก็ขัดให้ได้ขนาดที่ต้องการ


- พันเกลียว



- ช่วยกันต่อท่อ


- ดร.ยืนลุ้น


- เติมน้ำถังพัก


- เจาะท่อเพื่อติดตั้งข้อต่อสำหรับเทปน้ำหยด


- ออกแรงเสียบข้อต่อ


- พี่จากเทคโนธานีช่วยน้องวางเทปน้ำหยด


- พับปลายสาย


- เตรียมเทปน้ำหยดให้เพื่อนๆ


- สายไหนยังไม่ใช้ก็ม้วนเก็บไว้ก่อน


- เสร็จแล้วโรงเรียนที่ ๔


- ไม่มีงานเลี้ยงใดไม่มีวันเลิกลา ครั้งนี้ก็เช่นกัน เดินทางกลับมหาวิทยาลัย


@ โครงการเล็กๆ ที่เกิดจากความตั้งใจที่อยากจะเผยแพร่ความรู้ด้านระบบน้ำ ขอขอบคุณ โรงเรียนที่ช่วยให้ความฝันของผมเป็นจริง ขอบคุณพี่เจี๊ยบ น้องเริง น้องนิด จากเทคโนธานีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยรสุรนารี ขอบคุณ ดร.ฮิ ขอบคุณพี่ๆและทุกท่านที่ช่วยบริจาคเงินทุนสำหรับทำโครงการครั้งนี้ ในโอกาสข้างหน้าผมหวังว่าจะมีโอกาสได้ออกไปทำโครงการเช่นนี้อีก ผมหวังเสมอว่าเกษตรกรเมืองไทยจะมีเทคโนโลยีการให้น้ำที่ดีและมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร หวังว่าเกษตรกรจะสามารถนำพาตนเองให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป

                                                                                       ขอบคุณมากครับ
                                                                                     นายธราวุฒิ  ไก่แก้ว
                                                                                       วิศวกรการเกษตร
                                                                      สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
                                                                                     ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕