@บทความนี้จะพาไปเรียนรู้ระบบน้ำหยด ซึ่งถือเป็นระบบการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพการให้น้ำที่สูงมาก เหตุที่ผมนำมาวางไว้หลังบทความเรื่องระบบสปริงเกลอร์ก็เพราะว่า โดยพื้นฐานการออกแบบ การคำนวณ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ที่ประกอบในระบบนั้น คล้ายคลึงและมีแนวคิดเดียวกับระบบสริงเกลอร์ หากเราเข้าในพื้นฐานการออกแบบระบบสปริงเกลอร์แล้ว ก็จะช่วยทำให้เราสามารถเข้าใจการออกแบบระบบน้ำหยดได้ง่ายและเร็วขึ้น
@ระบบน้ำหยดนั้น มีข้อดีประการสำคัญคือ ประสิทธิภาพการให้น้ำสูงมาก ประหยัดน้ำมากกว่าระบบการให้น้ำอื่นๆ สามารถใช้ใช้ได้กับพืชหลายกหลายชนิดและสามารถใช้ได้กับดินทุกพื้นที่ในประเทศไทย หากเราเสียสละเวลาศึกษาแล้วละก้อจะทราบว่าการออกแบบและการคำนวณนั้นไม่ได้ยากเกินไปเลย
@สถานการณ์วิกฤติการณ์ด้านน้ำเพื่อการเกษตรในประเทศนั้นนับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความเรื่องน้ำหยดนี้จะช่วยให้ผู้สนใจและเกษตรกรมีความเข้าใจในระบบการให้น้ำแบบน้ำหยดมากยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถนำข้อแนะนำต่างๆในบทความนี้ไปออกแบบระบบการให้น้ำของท่านเองได้
*** หมายเหตุ : รายละเอียดในการออกแบบและการคำนวณระบบท่อสามารถอ่านได้จากบทความเรื่องการออกแบบระบบชลประทาน ภาค ๓ นะครับ
รูปภาพต่างๆ ที่ใช้หลายๆ รูปก็ได้มาจากสืบค้นซึ่งผมจำที่มาไม่ได้จริงๆ ก็ขออภัยที่ไม่ได้ให้เครดิตครับ
นายธราวุฒิ ไก่แก้ว
วิศวกรการเกษตร
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
๘ มกราคม ๒๕๕๕