วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ระบบสวนครัวน้ำหยด ภาคปฐมบท

ความเป็นมา
......งานวิจัยของผมชิ้นนี้ เป็นงานวิจัยลักษณะโครงการนำร่องเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรโดยเฉพาะในเขตพื้นที่ที่ผมดูแล ได้เข้าถึงระบบน้ำที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ราคาถูก เรียนรู้ได้ง่าย วัสดุอุปกรณ์เกษตรกรสามารถหาซื้อได้เอง และที่สำคัญจะต้องเป็นระบบที่ใช้งานได้ง่ายสำหรับทุกเพศและทุกวัย
......โจทย์ในการทำวิจัยของผมดังข้างต้นที่กล่าวมา แม้ว่าระบบน้ำหยดและระบบสวนครัวน้ำหยดนี้จะเข้ามาในประเทศตั้งแต่ ๑๐ กว่าปีที่แล้วตั้งแต่สมัยที่ผมยังเรียนอยู่ และผมได้ทดลองใช้ระบบนี้ในการปลูกจริงก็พบว่าเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพที่สูงมาก ประหยัดน้ำประหยัดเวลาประหยัดแรงงาน หรือจะกล่าวโดยรวมแล้วก็เป็นระบบที่มีข้อดีที่เยอะมาก เหมาะสำหรับเกษตรกรเมืองไทยมากๆ และเมื่อพิจารณาแล้วพบว่าสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกินพอเพียง ด้วยเน้นให้เกษตรกรพึ่งพาตนเอง คือเพื่อเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชผักไว้บริโภคเองในครัวเรือน เหลือจากการบริโภคก็สามารถนำไปขายสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ แต่.......
.......จากวันที่ผมได้ทดลองระบบครั้งแรกจนถึงวันที่ผมได้ตระเวนไปทั่วภาคเหนือภาคอีสานผมก็ยังเห็นเกษตรกรต้องลำบากในการให้น้ำพืชอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง จะด้วยเหตุผลใดผมก็ไม่ทราบได้ แต่ในความคิดของผม ผมเชื่อมั่นว่าระบบสวนครัวน้ำหยดน่าจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างแน่นอน ผมจึงเสนอแนวคิดนี้ต่อเจ้านายผม ซึ่งเจ้านายผมท่านก็เห็นด้วยและก็สนับสุนนผมเป็นอย่างดี ให้เงินทุนวิจัยมาก้อนหนึ่ง ทำให้ผมได้สานต่อความคิดที่จะช่วยเหลือเกษตรกรเมืองไทยให้พึ่งพาตนเองให้ได้ ตามปณิธานและแนวทางเศรฐษกิจพอเพียงของพ่อหลวงที่ผมยึดเป็นแนวทางในการทำงาน ...........

ผลงานชิ้นนี้ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์อย่างเป็นทางการ แต่ตัวรูปเล่มรายงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งตัวผมเองหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลที่เกิดจากการทำงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรเป็นวงกว้าง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ยังไม่สามารถเข้าถึงองค์ความรู้นี้ หากท่านที่ได้เข้ามาอ่านแล้ว จะช่วยผมเผยแพร่ผมก็ยินดีอย่างยิ่ง แต่หากต้องการนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อมูลไปเพื่อใช้ประโยชน์ส่วนตนหรือหน่วยงานเพื่อทำผลงาน กรุณาขออนุญาตก่อนนะครับ องค์ความรู้นี้ไม่ได้หวงแต่อย่างใด แต่ผลงานทั้งหมดก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานผม


มาทำความรู้จักระบบสวนครัวน้ำหยดกันเถอะ

ระบบสวนครัวน้ำหยด ก็คือระบบการให้น้ำแบบหยด (Drip Irrigation) ซึ่งระบบสวนครัวน้ำหยดนี้เป็นการนำเอาข้อดีต่างๆ ของระบบน้ำหยด เช่น เป็นระบบที่สามารถใช้ได้กับพืชและดินหลายหลายชนิด ประหยัดน้ำ ประหยัดแรงงาน มีประสิทธิภาพการใช้น้ำที่สูงมาก เป็นต้น มาประยุกต์ปรับให้มีความเหมาะสมสำหรับพื้นที่ที่ต้องการให้น้ำขนาดเล็ก ในการทำการวิจัยนี้ กำหนดให้ใช้พื้นที่ไม่เกิน ๑๖๐ ตารางเมตร ระบบสวนครัวน้ำหยดนั้นจะเป็นระบบที่ใช้แรงดันน้อย (๐.๑ - ๐.๒ บาร์) ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องสูบน้ำในการส่งน้ำและสร้างแรงดันให้แก่ระบบ จึงเป็นระบบที่ง่ายสามารถใช้ได้ในหลากหลายพื้นที่แม้แต่พื้นที่ที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ก็ตาม
                                                                        
@  ระบบการให้น้ำแบบน้ำหยดสำหรับครัวเรือน (Family Dripping System) หรือ ระบบสวนครัวน้ำหยด เป็นวิธีการให้น้ำแก่พืชอีกวิธีหนึ่งสำหรับแปลงปลูกพืชผัก ซึ่งมีประสิทธิภาพการให้น้ำสูง ใช้แรงดันน้ำน้อย ค่าลงทุนไม่สูงมาก เทคนิคการใช้และการดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก แต่ให้ผลตอบแทนทางการผลิตสูง   
@ ระบบการให้น้ำวิธีนี้ได้รับการออกแบบเฉพาะสำหรับพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำต้นทุนน้อย และสามารถใช้งานได้ง่ายเหมาะสำหรับการใช้งานเฉพาะครัวเรือนใช้พื้นที่น้อย เช่น พื้นที่ว่างบริเวณบ้าน คันสระน้ำประจำไร่นา เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถปลูกพืชไว้บริโภคภายในครัวเรือนได้ตลอดทั้งปี เหลือจากการบริโภคก็สามารถนำไปขายเป็นรายได้เสริมของครอบครัวได้    
@ ระบบสวนครัวน้ำหยด สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรตั้งแต่ 500 – 4,000 บาท ต่อฤดูกาลปลูก ซึ่งเมื่อเทียบกับค่าอุปกรณ์ทั้งหมดที่เกษตรกรได้รับรายละ 2,500 บาทแล้ว การคืนทุนนั้นหากเกษตรกรปลูกเพื่อการพาณิชย์ในพื้นที่ ไม่เกิน 160 ตารางเมตร สามารถทำได้ตั้งแต่การปลูกฤดูกาลแรกหรืออย่างช้าไม่เกิน1ปี
ข้อดีของระบบสวนครัวน้ำหยด
1. ประสิทธิภาพการให้น้ำสูงมาก พืชได้รับน้ำสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง 
2. ประหยัดน้ำ ( 50 ลบ.ม. ต่อฤดูกาลปลูกต่อแปลงปลูก)
3. ประหยัดแรงงาน
4. ประหยัดเวลาในการให้น้ำ (10 – 30 นาทีต่อการน้ำ 1 ครั้ง)      
5. สามารถใช้งานได้ดีกับดินและพืชทุกชนิด
6. ใช้งานและดูแลรักษาง่าย สมาชิกในครอบครัวสามารถใช้งานได้     
7. ค่าใช้จ่ายในการใช้งานระบบถูกมาก เทียบเป็นค่าน้ำมันหรือค่าไฟฟ้าแล้วใช้ไม่เกิน 200 บาทต่อ 1 ฤดูกาลปลูก (ไม่เกิน 4 เดือน)
รูปแบบของระบบสวนครัวน้ำหยด
@ สำหรับรูปแบบการติดตั้งนี้ ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวครับ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ปลูก อาจจะตั้งถังน้ำตรงกลางก็ได้ ถังน้ำตั้งด้านข้าง แล้วแต่ความเหมาะสมครับ
@ การต่อท่อนั้น เนื่องจากระบบนี้มีความดันในระบบน้อย ผมจึงแนะนำเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการว่า ไม่จำเป็นต้องต่อท่อด้วยกาวครับ เพราะง่ายในการถอดเคลื่อนย้ายครับ

รายการอุปกรณ์ระบบสวนครัวน้ำหยด

การนำไปใช้งานในโครงการนำร่อง จ.มหาสารคาม 
@ แรกเลย ผมจะคัดเลือกเกษตรกรที่สนใจในการปลูกพืชผัก โดยเฉพาะคนที่ทำอยู่แล้วจะให้สิทธิ์ก่อน เพราะถือว่าจะวัดผลการใช้งานได้ง่ายกว่า คนที่ไม่เคยปลูกพืชซึ่งจะยุ่งยากกว่า
@ สำหรับพื้นที่ปลูก ผมกำหนดให้ประมาณ ๑๖๐ ตารางเมตร ตามความเหมาะสมของพื้นที่ ตรงไหนก็ได้ แต่ส่วนใหญ่เกษตรกรจะเลือกริมสระน้ำประจำไร่ หรือพื้นที่นาที่ว่างเว้นจากการทำนาปี
@ ชนิดของพืช ก็แล้วแต่เกษตรกรต้องการ พืชสวนครัว พืชไร่ ตามที่เกษตรกรต้องการปลูกครับ พืชที่ปลูกก็ค่อนข้างหลากหลายครับ เช่น ถั่วฝักยาว กระเจี๊ยบขาว พริก มะเขือเทศ ฟักทอง ผักชี บวบ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรได้ทราบถึงข้อดีของระบบสวนครัวน้ำหยดที่สามารถนำไปใช้กับพืชได้อย่างหลากหลาย
@ เมื่อได้เกษตรกร (รับเพียง ๑๐ ราย) แล้ว ก็นัดวันชี้แจงโครงการ และเกษตรกรจะต้องเข้าอบรมเรื่องระบบน้ำกับผมก่อน ๒ วัน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เรื่องความรู้นี้สำคัญมากครับ ถ้าเกษตรกรเข้าใจแล้วก็สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องครับ
๒. การอบรมให้ความรู้ เรื่องระบบการให้น้ำแบบต่างๆ ระบบเครื่องสูบน้ำ  โดยเฉพาะระบบสวนครัวน้ำหยด การอบรมใช้ระยะเวลาการอบรม ๒ วัน ครับ สถานที่ได้รับความอนุเคราะห์จากวัดในหมู่บ้านครับ
บรรยากาศเป็นกันเองครับ


เข้มข้นด้วยเนื้อหา



@ สำหรับเนื้อหาที่ใช้ในการอบรมนั้น ผมได้พยายามปรับปรุงอยู่หลายครั้งเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจของเกษตรกร โดยชุดนี้ได้ปรับจากที่ไปบรรยายในโครงการต้นกล้าอาชีพมา จึงคิดว่าน่าจะไม่ยากจนเกินไปนัก ประกอบกับเกษตรกรส่วนใหญ่มีประสบการณ์เคยทำมาบ้างแล้ว เลยทำให้การบรรยายกาศเป็นไปอย่างสนุกสนาน นอกจากนี้ยังถือโอกาสชี้แจงการเก็บข้อมูลต่างๆ จากการใช้งานระบบด้วย 


๑. หลังจากที่อบรมให้ความรู้เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาปฏิบัติงานจริงในภาคสนาม โดยที่ก่อนหน้าที่จะเข้าพื้นที่ ผมได้ประสานให้เกษตรกรเตรียมแปลง เตรียมเมล็ดพันธุ์ให้พร้อมปลูกกรือเพาะเบี้ยเตรียมไว้สำหรับพืชบางชนิด และให้เตรียมที่ตั้งถังน้ำไว้ก่อนล่วงหน้า เมื่อทุกอย่างพร้อมก็ลงมือกันเลย การติดตั้งนี้เกษตรกรจะไปช่วยกันติดตั้งจนแล้วเสร็จ โดยที่ผมจะทำให้ดูก่อนจากนั้นเกษตรกรต้องติดตั้งเอง ผมจะคอยควบคุมและแนะนำอยู่ใกล้ๆ ครับ
พื้นที่ที่เตรียมติดตั้งระบบ

ปลูกริมสระน้ำประจำไร่นา ถึงน้ำจะขุ่นแต่ก็ใช้ได้ครับ

แนะนำวิธีการติดตั้งข้อต่อเทปน้ำหยด

เจาะรูก้นถัง โดยใช้โฮซอ วิธีการเจาะให้เจาะเหนือก้นถังเล็กน้อยเพื่อป้องกันตะกอนที่จะเข้าระบบ

ติดตั้งวาล์วพีวีซีและชุดกรอง กรองที่ใช้แนะนำให้ใช้กรองชนิดตะแกรงเพื่อให้น้ำไหลได้สะดวก

เจาะรูท่อเพื่อติดตั้งข้อต่อเทปน้ำหยด

ติดตั้งข้อต่อเทปน้ำหยดและเทปน้ำหยดเข้ากับท่อพีวีซี

เมื่อติดตั้งเสร็จก็ทดสอบระบบ ลองเปิดน้ำ




๒. เมื่อติดตั้งทุกอย่างเรียบร้อยจนครบทุกแปลง เกษตรกรก็จะปลูกพืชในพื้นที่ที่เตรียมไว้ โดยเกษตรกรจะเป็นผู้จดบันทึกค่าต่างๆ เช่น วันและเวลาที่ให้น้ำและปริมาณน้ำที่ในแต่ละวัน การให้ปุ๋ยและปริมาณปุ๋ย เป็นต้น ผมก็จะออกมาติดตามผลทั้งสิ้น ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ หลังจากเกษตรกรปลูกพืชได้ประมาณ ๑ เดือน

ข้าวโพด ดูดีทีเดียว

ถั่วฝักยาว

นี่ก็ถั่วฝักยาว ดูดีทีเดียว

ผักชี แค่ ๓ แปลง เล็กๆ ได้ ๔,๕๐๐ บาท
ครั้งที่ ๒  หลังจากผ่านไปประมาณ ๒ เดือนกว่า
พริกต้นไม่สวยเท่าไหร่ เพราะปลูกแบบอินทรีย์ทั้งหมด แต่ก็พอกินจนเหลือขายทีเดียว

กระเจี๊ยบขาวและถั่วฝักยาว

แปลงถั่วฝักยาว ให้ผลผลิตแล้ว

ฟักทอง เก็บแค่ยอดและดอกขายก็ได้ไป ๓,๐๐๐ กว่าบาทแล้ว

เก็บข้อมูลโดยละเอียด
ครั้งที่ ๓ เป็นการเก็บข้อมูลครั้งสุดท้ายพร้อมทั้งสรุปบทเรียน เพื่อให้ทราบผลการทดลองใช้ระบบ ทั้งข้อดีข้อเสีย ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน และความพึงพอใจของผู้ใช้งาน
แปลงผักชีอินทรีย์

พริกอินทรีย์

เจ้านายตามมาดูผลงาน

สรุปบทเรียน
@ การเก็บข้อมูลเชิงลึก เป็นการเก็บข้อมูลเชิงวิศวกรรม เพื่อดูประสิทธิภาพของระบบ โดยดูจากปริมาณน้ำที่หยดจากรูจ่ายน้ำของเทปน้ำหยด หลังจากผ่านการใช้งานไปประมาณ ๒ เดือน เหตุที่ต้องทำเพราะว่าน้ำที่นำมาใช้กับระบบนั้น เป็นน้ำจากสระประจำไร่นาซึ่งมาความขุ่นมาก จึงต้องการทราบการอุดตันของรูเทปน้ำหยด โดยทดลองวางแก้วกาแฟแปลงปลูกพืชในจุดต่างๆ จากนั้นก็เปิดน้ำเป็นเวลา ๕ นาที วัดปริมาณน้ำที่ได้ในแก้วแต่ละใบ นำมาเปรียบเทียบกัน ผลการทดลองพบว่า น้ำที่เก็บได้จากการทดลองมีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน ทำให้ทราบว่าน้ำจากสระประจำไร่นานั้นสามารถใช้กับระบบเทปน้ำหยดได้ 
เปิดน้ำใส่ให้เต็ม

ล้างไส้กรองให้สะอาด
@ เมื่อทุกอย่างพร้อมก็เตรียมทดลองเลย
อุปกรณ์วัดปริมาณน้ำ

เปิดให้น้ำเป็นเวลา ๕ นาที

น้ำที่ได้จากการสุ่มวัดในแปลงมีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน

จากนั้นก็วัดปริมาณน้ำที่ได้โดยใช้หลอดฉีดยา
@ จากการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้พบว่า ระบบสวนครัวน้ำหยดนั้น สามารถใช้งานได้จริงในพื้นที่ของเกษตรกร เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการใช้งานของระบบมาก และพบว่าการเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความมั่นใจในระบบน้ำหยดมากยิ่งขึ้น บางรายมีแผนที่ลงทุนติดตั้งระบบน้ำหยดเพิ่มเติม ทั้งนี้ข้อดีที่สำคัญของระบบที่ได้จากการทำวิจัยครั้งนี้คือ ช่วยให้ในฤดูแล้งเกษตรกรสามารถปลูกผักได้แม้ปริมาณน้ำในสระประจำไร่นาจะเหลือน้อยก็ตาม เพราะจากข้อมูลที่เก็บได้ แปลงที่ใช้น้ำมากสุดนั้น ใช้น้ำไปทั้งสิ้น ๕๐ ลูกบาศก์เมตรต่อฤดูกาลปลูก (ไม่เกิน ๑๒๐ วัน) ทั้งยังมีต้นทุนในการนำน้ำขึ้นถังพักเพียง ไม่เกิน ๒๐๐ บาท (เทียบเป็นปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงในการสูบน้ำขึ้นถังพัก) 

ปล. สำหรับการต่อยอดระบบสวนครัวน้ำหยดดูได้จากบทความเรื่องสวนครัวน้ำหยด (เพื่อน้อง) ซึ่งจะมีการนำระบบสวนครัวน้ำหยดไปประยุกต์ใช้กับมะละกอ  

                                                                                       ธราวุฒิ  ไก่แก้ว 
                                                                                     วิศวกรการเกษตร
                                                                     สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
                                                                                   ๒๕  ตุลาคม ๒๕๕๔

21 ความคิดเห็น:

  1. เกษตรกรได้ประโยชน์มากเลยนะครับ ติดตามบทความต่อไปนะครับ

    ตอบลบ
  2. มีประโยชน์มากเลยครับ
    ผมจะรออ่านบทความต่อไปนะครับ

    ตอบลบ
  3. ดีมากครับ แต่ขอถามหน่อยครับ

    1) เครื่องเจาะถัง 200 ลิตรไม่มีจะไปให้ร้านประเภทไหนที่มีเครื่องเจาะแบบนี้เขาเจาะให้
    2) ถัง 200 ลิตรหยดน้ำใส่แปลงข้่าวโพดหวาน ได้ปริมาณกี่แปลง
    3) ถัง 200 ลิตรหยดน้ำได้กี่วัน และหยดตลอด 24 ชั่วโมงต่อวันเลยไหมครับ

    somsakksn

    ตอบลบ
  4. ๑.ใช้สว่านดอกใหญ่คว้านก็ได้ครับ แล้วใช้ตะไบแต่งให้เรียบ
    ๒.ถัง ๒๐๐ ลิตรที่ใช้ในโครงการใช้กับพื้นที่ประมาณ ๒๐๐ ตารางเมตรครับ เกินกว่านี้ต้องเพิ่มถังหรือแบ่งโซนให้น้ำใหม่
    ๓.ปกติถัง ๒๐๐ ลิตรกับแปลงขนาด ๒๐๐ ตารางเมตรจะให้น้ำวันละประมาณ ๑-๒ ครั้งครับ เติมน้ำเต็มถังแล้วก็เปิดให้ได้เลยครับปล่อยให้น้ำหมดถังไปเองไม่ต้องเฝ้า ตอนเย็นก็ให้น้ำอีกครั้งนึง ไม่ได้ให้ตลอด ๒๔ ชม.ครับ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ4 ตุลาคม 2556 เวลา 08:29

    ระบบน้ำหยดที่เสนอมานี้ก็เป็นแนวคิดที่ดี แต่...คุณไม่จำเป็นต้องใช้แท้งน้ำหรือถังน้ำยกสูงหรอกครับ มันเปลืองต้นทุน คุณต่อปั้มน้ำสูบอัดโดยตรงเลยก็ได้ แรงดันแค่นี้ใช้ได้สบายๆครับ อีกอย่างเทปก็ไม่แตกด้วย เชื่อชาวไร่อ้อยเถอะ เขาทำมาก่อนคุณเป็นสิบๆปี ทำเยอะด้วยเป็นร้อยไร่ ไม่ไช่มาทำแปลงเล็กๆโชว์หรอกครับ เชื่อสิถ้าทำแค่นี้ให้เกษตรกรตักรดเองเถอะดีกว่า

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณที่แนะนำครับ



      ลบ
    2. ไม่ระบุชื่อ22 ธันวาคม 2558 เวลา 23:01

      เป็นคำแนะนำที่ไม่ใช้ความคิดเลย...คุณอ่านบทความนี้ถึงครึ่งบรรทัดมั้ย

      ลบ
    3. ถามคนที่อวดดี แสดงความคิดเห้นไร้มารยาท เขาให้วามรุ้แกคนอื่นเป้นเรื่องที่ดี คุนเคยเผยแพร่ควทมรุ้เกษตรอวดดี ที่ลองผิดลองถูกมาให้ชาวบ้านเขารุ้มั้ย ไม่เลย เพราะพวกอวดดี ที่กลัวว่าคนอื่นจะรุ้สิ่งที่ตนรุ้ มันน่ารังเกียตในสังคมครับคนแบบนี้ อ่าน สองบบรทัดแล้วแสดงความเห้นโง่ๆออกมา คุนจะทำอย่างไรถ้าไม่มีไฟฟ้า ไม่มีทุนซื้อปั้มน้ำ ต้องซื้อผักบ้านคุนกินตลอดไปใช่มั้ย เห้นแกตัวชิบหายควมมคิด

      ลบ
    4. ความรู้ไม่ใช้ ไม่แบ่งปัน ติแต่ชาวบ้าน
      ความรู้ที่เขาให้ ถึงแปลงไม่ใหญ่ สำหรับคนทั่วไปกับการเริ่มต้นผมมองว่าเป็นสิ่งที่ดี

      ผมต้องมีเป็นร้อยๆไร่หรอแล้วค่อยลองทำ คุณคิดให้มันมากๆครับ

      เขาให้ความรู้ไม่ใช้มาดัดหลังใคร แต่คุณนะให้อะไรกับสังคมครับ

      ลบ
  6. ขอบคุณมากๆเลยครับสำหรับไอเดีย

    ตอบลบ
  7. ขอบคุณมากๆเลยครับสำหรับไอเดีย

    ตอบลบ
  8. ใส่ปุ๋ยยังไงครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ปุ๋ยสามารถผสมใส่ถังน้ำ ๒๐๐ ลิตรได้เลยครับ แต่ต้องเป็นเป็นที่ละลายน้ำได้นะครับ

      ลบ
  9. ชอบครับ ง่ายและดูแลไม่ยาก แต่ถ้าเรามี timer เปิดน้ำเข้าถังสักหนึ่งหรือสองช่วโมงรอให้ตะกอนนอนก้น แล้วมีไทเม่อร์เปิดวาวล์น้า ทำวันละสองรอบจะได้ไหมครับ...ผมยังไม่รู้จักชนิดของหัวจ่ายน้ำ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ทำได้ครับ เอาแบบง่ายๆ ก็ timer แบบใช้ถ่านตัวละพันกว่าบาท ติดตั้งเพิ่มเข้าไปในท่อได้เลยครับ

      ลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ30 เมษายน 2559 เวลา 10:33

    ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 เม็ดสีฟ้า เอาไปละลายน้ำ แล้วเทลงในถัง 200 ลิตร ที่ให้น้ำพืชได้ไหมครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ปุ๋ยที่ใช้กับระบบน้ำแบบท่อต้องเป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำได้หมดครับ อย่าง 46-0-0 ถ้า 16-16-16 ละลายน้ำได้หมดก็ใช้ได้ครับ

      ลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ29 สิงหาคม 2559 เวลา 08:40

    ถ้าปลูกในพื้นที่1ไร่จะต้องใช้ถังเพิ่มหรือเปล่าคะ แล้วชุดกรองต้องใช้ขนาดไหนคะ

    ตอบลบ