@ ต่อเนื่องจากภาค ๒ ครับ ต่อไปเราจะไปเรียนรู้การออกแบบระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์และแบบน้ำหยดกันครับ รายละเอียดและขั้นตอนการออกแบบต่างๆ ผมทำไว้ให้ครบถ้วนครับ ใครสนใจก็สามารถทำความเข้าใจตามได้ครับ ในการออกแบบระบบการให้น้ำพืช จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ข้อมูลและปัจจัยต่างๆ ที่จะใช้ในการออกแบบจากทั้งภาค ๑ และ ภาค ๒ ด้วย เพราะในภาค ๓ นี้จะรวมเอาข้อมูลต่างๆ ข้างต้นมาใช้ออกแบบ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถออกแบบระบบให้มีความเหมาะสมตรงตามที่เราต้องการมากที่สุด และเป้นหลักประกันประการหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถปลูกพืชให้ประสบผลสำเร็จได้
@ ในการออกแบบระบบการให้น้ำพืชทั้งระบบสปริงเกลอร์และระบบน้ำหยดนั้น ใช้พื้นฐานเดียวกันทั้งสิ้น รวมทั้งระบบขนาดเล็กและระบบขนาดใหญ่ ก็ใช้แนวทางการออกแบบที่เหมือนกัน จะต่างกันก็ในเรื่องของรายละเอียดอุปกรณ์ที่ใช้ และรอบเวรการเปิดให้น้ำ ซึ่งผู้ออกแบบระดับเริ่มต้นควรฝึกออกแบบจากระบบขนาดเล็ก ที่ไม่มีความซับซ้อนก่อน โดยทำตามขั้นตอนที่แนะนำในเอกสารชุดนี้ ซึ่งเอกสารชุดนี้ผมใช้ฝึกอบรมเกษตรกรมาไม่น้อยกว่า ๖ รุ่น ผ่านการปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานในระดับที่เริ่มเรียนรู้ใหม่ หรือระดับเกษตรกรมากที่สุด นอกจากนี้เพื่อให้ง่ายมากยิ่งขึ้นผมยังจะนำตัวอย่างการออกแบบระบบน้ำต่างๆ อย่างง่ายมาให้ดูเพื่อเป็นแนวทางด้วยครับ ด้วยความหวังว่าจะช่วยเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจแก่ผู้สนใจให้ได้มากที่สุด
ติดตามชมกันได้เลยครับ
นายธราวุฒิ ไก่แก้ว
วิศวกรการเกษตร
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบผมอยากได้เอกสารเนื้อหาข้อมูลเป็นไฟล์ power point พอจะให้ได้ไหมครับ อยากปริ้นมาอ่าน อ่านในคอม ไม่สะดวกเลยครับ ถ้าไม่สะดวกให้ ก็ไม่เป็นไรครับ เดี๋ยวผม coppy รูปไปปริ้นเอาก็ได้ครับ ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ
ลบ