วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

ระบบน้ำสนามหญ้าอย่างง่าย ใครก็ทำได้

@บทความนี้ เปลี่ยนบรรยากาศจากระบบน้ำเพื่อการเกษตรมาเป็นระบบน้ำสำหรับสวนหย่อมหรือสนามหญ้ากันบ้าง หรือเรียกว่า Sprinkler POP-UP ครับ

ขึ้นชื่อว่าระบบน้ำจะสวนผลไม้หรือสวนหย่อมมันก็เหมือนกันหมด ใช้หลักการออกแบบเดียวกัน อุปกรณ์ต่างๆ ก็เหมือนกัน ที่ต่างกันก็แค่หัวจ่ายน้ำที่เป็นแบบเฉพาะเพราะยืดได้หดได้จึงเรียกว่า POP-UP ทั้งยังปรับรัศมีได้หลากหลาย สามารถติดตั้งได้กับสวนทุกรูปร่าง ทั้งยังติดตั้งไว้ได้ดินไม่ให้เกะกะรกหูรกตา เดินสะดุดหรือเป็นอุปสรรคในการตัดหญ้าเลยแม้แต่นิด

การออกแบบก็เหมือนกับการออกแบบระบบสปริงเกลอร์ทั่วไปนะครับ ต่างแค่เลือกติดตั้งหัวฉีดตามองศาฉีดต่างๆเพื่อไม่ให้น้ำฉีดไปโดยพื้นที่ที่เราไม่ต้องการให้เปียกครับ

จากนี้ต่อไป ผมจะนำเสนอให้เห็นว่าทำไมจึงว่าทำได้ไม่ยาก ใครๆก็สามารถทำเองได้ และเพื่อให้เข้ากับชื่อ Blogger นี้ คือ "ระบบการให้น้ำพืชฉบับประชาชน" ผมจึงจะยำใหญ่ใส่สารพัดทำแบบลูกทุ่งๆ อุปกรณ์สามารถหาได้ในท้องถิ่น และที่ผ่านมานั้นผมจะทำให้กับผู้อื่นมาสารพัดในหลายสารทิศ ก็ถึงโอกาสกลับไปทำให้ที่บ้านตัวเองแล้วครับ โดยอุปกรณ์หลักๆก็คือ หัวจ่ายน้ำ Sprinkler POP-UP อันนี้ผมเลือกขนาดเล็กให้เข้ากับสนามหน้าบ้านครับ โจทย์คือ พื้นที่ติดตั้ง ๖ เมตรยาว ๑๐.๕ เมตร ประมาณเอาว่าใช้รัศมี ๔ เมตรที่แรงดัน ๒ บาร์ ใช้ประมาณ ๖ หัวน่าจะพอ ตำแหน่งติดตั้งไปวางกันหน้างานเลย (อันนี้ไม่ควรเลียนแบบนะครับ)

 - เริ่มแรกก็บูรณะปั๊มเดิมที่อยู่ก่อน ปั๊กชักมอเตอร์พัง ปั๊มหอยโข่งเมคซีลแตก เพื่อให้ง่ายและถูกก็เปลี่ยนมอเตอร์ปั๊มชักดีกว่า เอามาใช้พลางไปก่อน


- ตัวนี้ได้มาฟรีนานแล้ว ลองเอามาใช้ดู แต่พอเสียบปลั๊กปรากฏว่าปั๊มไม่หมุนเลยต้องรื้ออีกตัว เป็นตัวที่สาม งัดแงะจนใช้งานได้ แต่เอาอะไรมากไม่ได้กะของจีนครับ



                                           - พื้นที่สนามหญ้าประมาณ ๖๐ ตารางเมตรครับ 

                                                     
                                                              - อันนี้หัวสปริงเกลอร์ครับ


                                     - ถอดหัวออกมาดู สปริงนี่ละครับที่ทำให้ยืดได้หดได้ครับ


- ขั้นแรกก็เริ่มจากการขุดดินเลยครับ เพราะระบบนี้อุปกรณ์ท่อและหัวจ่ายน้ำจะอยู่ใต้ดินครับ


                                                       - ทุกอย่างพร้อมก็ลงมือเลยครับ


                               - กล่องใส่วาล์วแบบลูกทุ่งครับ ได้กระถางต้นไม้แถวๆนั้นละครับ


                                                          -ลองติดตั้งหัวดูซิ พอดีไหม


-หัวใจสำคัญอยู่ที่ปั๊มครับ ดูสับสนวุ่นวายดี แต่ก็ไม่มีอะไรครับ เนื่องจากปั๊มหลักชำรุดเลยใช้ปั๊มชักเป้นหลักแทน ปั๊มหอยโข่งน้อยแรงดันกะปริมาณน้ำไม่พอครับ (สเปคบอกมาพอแต่เอาเข้าจริงๆ ก็ตามที่รู้ๆกันของจีนครับ)


-เมื่อติดตั้งปั๊มเสร็จก็ล้างท่อกันก่อนครับ


                      -ทดสอบแรงดันครับ งานไหนที่มีปั๊มผมมักจะต้องมีเกจวัดแรงดันเสมอครับ
  

- ทดสอบแรงดันแล้วก็ทดสอบที่หัวจ่ายกันเลย จะได้รู้กันไปว่าที่ออกแบบกับของจริงใกล้เคียงกันไหม ถ้าผิดพลาดยังพอจะขยับหัวหรือแก้ไขได้ทัน แต่ถ้าใจร้อนฝังท่อแล้วเจอมาปัญหาทีหลังละก็งานเข้าแน่ๆ


                                                 - ทดลองน้ำเสร็จก็ทำการกลบแนวท่อครับ


                                         - ฝังหัวให้ตรงๆครับ อัดดินให้แน่นอย่าให้ขยับครับ


- ทำการโรยทรายครับ ปรับสนามให้เรียบ


-ทดสอบระบบอีกครั้งครับ


- เปิดน้ำรดสนามให้ชุ่มครับ ให้ดินเย็นๆ


                                                      - เมื่อสนามพร้อมก็เริ่มปูหญ้าครับ


-ใช้ลูกกลิ้งแบบลูกทุ่งบดอัดอีกรอบครับ


-ปูเสร็จเรียบร้อยครับ ง่ายๆเลยใช่ไหมครับ


- ทดลองเปิดน้ำดูครับ ระบบใช้ได้ไหม หัวนี้ปรับมุมไปที่ ๓๖๐ องศา


- หัวนี้ตั้งไว้ที่ ๙๐ องศาคครับ


- หัวนี้ที่ ๑๘๐ องศาครับ


- ขั้นตอนสุดท้ายก็ตรวจสอบความสมบูรณ์ของระบบครับ แรงดัน ๒ บาร์ครับ ได้รัศมีประมาณ ๔ เมตรตามที่ตั้งใจไว้ครับ ถือว่าเกินคาดสำหรับปั๊มชักครับ


@ จะเห็นว่าระบบน้ำสนามหญ้าก็ในส่วนของอุปกรณ์หลักๆ ก็ไม่ต่างจากระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์แบบอื่นๆ ใช่ไหมครับ หลักการออกแบบก็หลักการเดียวกัน สามารถทำได้เองไม่ยากครับ ราคาอุปกรณ์ของระบบนี้จะอยู่ประมาณตารางเมตรละ ๑๐๐ บาท ครับ ถ้าต้องการให้สนามหญ้ามีความสวยงาม ระบบการให้น้ำแบบนี้ก็เป้นทางเลือกหนึ่งที่ดีครับ 



ธราวุฒิ  ไก่แก้ว
วิศวกรการเกษตร
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
๒๔ เมษายน ๒๕๕๕  

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ22 เมษายน 2557 เวลา 03:46

    สวยงามเลยครับ มีประโยชน์มากครับ

    ตอบลบ