@ บทความนี้จริงๆ ควรจะรวมอยู่กับเรื่องระบบน้ำหยดมันสำปะหลัง เพราะเป็นปั๊มที่ผมไปติดตั้งในแปลงมันสำปะหลัง แต่ผมเห็นว่าการเอาไปรวมกันอาจจะยากต่อการสืบค้นจึงได้แยกเรื่องกัน มาตั้งเป็นเรื่องการติดตั้งโดยเฉพาะ ในบทความต่อไปจะพูดถึงเรื่อง ตัวอย่างการติดตั้งระบบน้ำหยดในมันสำปะหลัง
@ ปกติผมมักพบเจอเกษตรกรหลายๆ รายประสบปัญหาการติดตั้งปั๊มบาดาล เนื่องจากทำได้ยากกว่าปั๊มหอยโข่ง ทั้งยังต้องหย่อนตัวปั๊มลงไปในบ่ออีกด้วย แต่จากที่เคยทำมารายล่าสุดพบว่าสามารถทำได้ไม่ยาก ทั้งการติดตั้งและถอดขึ้นมาซ่อมบำรุง
หลักใหญ่ใจความก็ไม่มีอะไรครับ เพียงแต่ท่อที่ใช้จากที่เคยใช้ท่อเหล็กกัลวาไนซ์หรือท่อพีวีซีซึ่งเวลาหย่อนจะต้องต่อทีละท่อนๆ ก็เปลี่ยนมาใช้ท่อเอชดีพีอีหรือท่อดำแทนเพราะท่อพีอีนั้นยาวพอที่จะหย่อนลงไปได้เลยโดยไม่ต้องต่อ ทั้งนี้เวลาหย่อนก็สามารถทำเองได้เวลายกขึ้นก็สามารถยกขึ้นได้ง่ายอีกเช่นกัน หมดความกังวลไปได้เลยทีเดียว
เรื่องปั๊มไหม้เนื่องจากน้ำหมดบ่อก็เป็นปัญหาใหญ่เพราะผู้ใช้ไม่สามารถมองเห็นน้ำที่อยู่ในบ่อ ก็แนะนำว่าในการติดตั้งปั๊มบาดาลให้ติดตั้ง Flow switch เข้าไปด้วย ๑ ตัว แค่นี้ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำจะหมดบ่อเมื่อไหร่ หมดเมื่อไหร่ปั๊มตัดเมื่อนั้น เพียงเท่านี้ การติดตั้งปั๊มบาดาลก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หลักใหญ่ใจความก็ไม่มีอะไรครับ เพียงแต่ท่อที่ใช้จากที่เคยใช้ท่อเหล็กกัลวาไนซ์หรือท่อพีวีซีซึ่งเวลาหย่อนจะต้องต่อทีละท่อนๆ ก็เปลี่ยนมาใช้ท่อเอชดีพีอีหรือท่อดำแทนเพราะท่อพีอีนั้นยาวพอที่จะหย่อนลงไปได้เลยโดยไม่ต้องต่อ ทั้งนี้เวลาหย่อนก็สามารถทำเองได้เวลายกขึ้นก็สามารถยกขึ้นได้ง่ายอีกเช่นกัน หมดความกังวลไปได้เลยทีเดียว
เรื่องปั๊มไหม้เนื่องจากน้ำหมดบ่อก็เป็นปัญหาใหญ่เพราะผู้ใช้ไม่สามารถมองเห็นน้ำที่อยู่ในบ่อ ก็แนะนำว่าในการติดตั้งปั๊มบาดาลให้ติดตั้ง Flow switch เข้าไปด้วย ๑ ตัว แค่นี้ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำจะหมดบ่อเมื่อไหร่ หมดเมื่อไหร่ปั๊มตัดเมื่อนั้น เพียงเท่านี้ การติดตั้งปั๊มบาดาลก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
@ การคิดเฮดสำหรับปั๊มบาดาลนั้น จะคิดต่างจากปั๊มหอยโข่ง ตรงที่เฮดสตาติกจะไม่คิดจากระดับผิวน้ำ แต่จะคิดจากระดับความลึกที่หย่อนปั๊มลงไป เช่น หย่อนปั๊มลงไป ๓๐ เมตร ก็จะได้ เฮดสตาติกเท่ากับ ๓๐ เมตร ส่วนเฮดอื่นๆก็คิดได้เหมือนปกติครับ
เรามาดูวิธีการติดปั๊มบาดาลอย่างง่ายๆ นะครับ บทความนี้อย่าถือเอาเป็นหลักวิชาการนะครับ เพราะผมก็ทำตามประสบการณ์และความรู้อันน้อยนิด ถ้าเห็นว่าเป็นประโยชน์จะเอาไปใช้บ้างก็ยินดีครับ
- บ่อที่จะติดตั้งนี้ใช้พึ่งเจาะใหม่ๆ เพื่อให้ง่ายในการติดตั้งปั๊มบาดาลขนาดทั่วไป ๔" จึงเจาะบ่อขนาด ๖" ความลึกที่ ๔๐ เมตรพอดิบพอดีครับ ในรูปกำลังเตรียมอุปกรณ์ ทั้งปั๊ม สายไฟ ท่อเอชดีพีอี (PN 10)
- นี่หน้าตาปั๊มบาดาล หรือ Submersible Pump ขนาด ๑.๕ กิโลวัตต์ เฮดสูงสุด ๘๗ เมตร อัตราการไหล(คิว) สูงสุด ๙,๐๐๐ ลิตรต่อนาที แต่จุดที่ใช้ออกแบบอยู่ที่เฮด ๖๐ เมตร ที่คิว ๖,๐๐๐ ลิตรต่อชั่วโมง ยี่ห้อ Pedrollo เมดอินอิตาลี
- เอ้าช่วยกันหย่อนลง เวลาหย่อนปั๊มระวังอย่าให้สายไฟถลอกหรือเป็นรอยนะครับ อันตรายที่สุด
- สิ่งที่ต้องต่อคือ ข้อต่อตรงเกลียวนอกพีอีเข้ากับปั๊มแล้วก็ต่อเข้ากับท่อพีอีขันล็อคให้แน่น ผูกเชือกเข้ากับปั๊มสำหรับห้อยปั๊มกับปากบ่อ ข้อควรระวังคือ อย่าให้ท่อพีอีและข้อต่อรับน้ำหนักปั๊มนะครับไม่งั้นหลุดแน่ๆ ให้ใช้เชือกรับน้ำหนักแทนนะครับ เมื่อทุกอย่างพร้อมก็หย่อนลงไปเลยครับ ดังในรูป จะเห็นเชือกผูกรั้งเอาไว้ ให้ได้ระดับที่ต้องการโดยให้ปั๊มห่างจากก้นบ่อซักเล็กน้อยไม่น้อยกว่า ๐.๕ เมตร ของผมให้ห่างประมาณ ๕ เมตร กันทรายที่มากับน้ำ
- ดูกันชัดๆ ครับ ท่อที่เหลืออย่าพึ่งตัดนะครับ
- ที่ยังไม่ให้ตัดท่อเพราะเอาไว้ทดลองปั๊มก่อน ของผมแม้จะลูกทุ่งยังไง แต่แทบทุกครั้งที่ติดตั้งปั๊มและที่ขาดไม่ได้คือ โวลต์มิเตอร์และแอมป์มิเตอร์ เอาไว้ตรวจสอบการทำงานของปั๊ม จะได้รู้เลยว่าปั๊มทำงานปกติหรือเปล่า ไฟเข้าปกติหรือเปล่า ลงทุนเพิ่มอีกนิดแต่คุ้มค่าครับ ในรูปหลังจากเอาปั๊มลงแล้วก็ลองปั๊มกันเลย จากนั้นก็มาดูค่าต่างๆที่ได้ เทียบกับสเปคปั๊มจากผู้ผลิต พบว่าปกติดีแอมป์ขนาดนี้เหมาะสมและไฟไม่ตกครับ
- นี่หน้าตาตู้ชัดๆ อ๊อฟชั่นแล้วแต่เราจะใส่ครับ แต่ปกติที่พบเห็นมักจะใช้เป็นเบรกเกอร์ตัวเดียวแทน ใช้ได้เหมือนกันครับ แต่จะไม่มีระบบเซฟตี้อะไรเลย หลักการผมคือให้ปั๊มพังเป็นจุดสุดท้าย เพราะเปลี่ยนตู้คอนโทรลง่ายกว่าเปลี่ยนปั๊มครับ
- ท่อที่เหลือก็สามารถนำมาใช้เป้นท่อเมนได้นะครับ ไม่เหลือทิ้งแน่นอน
- ต่อชุดควบคุมหัวแปลงไปพลางๆ
- ในระหว่างนั้นก็เปิดน้ำทิ้งไว้ดูซิน้ำจะหมดบ่อไหม และใช้เวลากี่นาทีน้ำจะหมดบ่อ ถ้าหมดบ่อแล้วก็จับเวลาดูว่าใช้เวลาเท่าใดน้ำจะเติมบ่อจนเต็ม บ่อนี้สูบไว้ ๖ ชั่วโมงยังไม่มีทีท่าว่าจะหมด วัดระดับที่ยุบลงแค่ไม่กี่เมตร แสดงว่าน้ำเหลือเฟือที่จะใช้ในแต่ละวัน
- ระหว่างรอน้ำก็ต่อชุดควบคุมหัวแปลงเสร็จเรียบร้อย
- ให้ดูการต่อท่อพีอีเข้ากับท่อพีวีซีชัดๆครับ
- ตัวนี้คือ Flow Switch ครับเหมือนลูกลอยไฟฟ้า ตัวนี้เอาไว้ป้องกันน้ำแห้งบ่อครับ จากรูปจะเห็นใบพายตรงเกลียวทองเหลือง ถ้าบ่อบาดาลแห้งและไม่มีน้ำไหลผ่านใบพายก็จะไม่ขยับวงจรก็จะไม่ครบปั๊มก็จะตัดครับ
- รูปแนะนำการติดตั้งซึ่งผู้ผลิตจะแนบมาด้วยครับ ไม่ต้องกลัวว่าจะติดตั้งไม่ถูก
@ เพียงเท่านี้เราก็สามารถติดตั้งปั๊มบาดาลได้เองแล้วครับ จะดึงขึ้นมาซ่อมหรือจะเอาลงก็ง่ายครับ เครื่องมือที่ใช้ก็ไม่มากไม่ต้องมีรอกช่วย ซึ่งผมเชื่อว่าไม่ยากเกินไปที่จะทำได้ครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ใช้ปั๊มบาดาลนะครับ อย่าไปประหยัดกับอุปกรณ์เซฟตี้นะครับ ไม่งั้นจะเข้าทำนอง เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย
นายธราวุฒิ ไก่แก้ว
วิศวกรการเกษตร
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
๒๖ เมษายน ๒๕๕๕
เป็นข้อมูลความรู้ที่สุดยอดมากๆครับ
ตอบลบกำลังจะหาทางออกเรื่องการติดตั้งอยู่พอดี ขอบคุณสำหรับข้อมูลน่ะครับ
ตอบลบขอบคุณมากครับที่ให้ความรู้
ตอบลบที่บ้านก็กำลังติดตั้งระบบน้ำบาดาลแบบนี้ แต่สำหรับใช้ภายในบ้านค่ะ ทีนี้ช่างบอกว่า..ติดก๊อกน้ำไม่ได้ ไม่งั้นปั๊มจะระเบิด แล้วจะทำก๊อกในบ้านยังไงคะ
ตอบลบหากจะใช้ปั๊มน้ำบาดาลกับบ้านพักอาศัย ควรสูบมาเก็บในถังพักหรือแท้งค์น้ำก่อนครับ เพราะอัตราการไหลและแรงดันที่ได้จากปั๊มมีมากกว่าการใช้น้ำจากก๊อกน้ำภายในบ้าน ถ้าเปิดใช้งานจะทำให้ข้อต่อต่างๆหลุดได้ ยกเว้นแต่ติดตั้งเป็นระบบอัตโนมัติแต่ก็ไม่ค่อยพบเห็นครับ
ตอบลบระบบน้ำหยดที่ผมนำมาให้ดูที่สามารถใช้ปั๊มบาดาลจ่ายตรงเข้าระบบได้ ก็เพราะว่าคำนวรอัตราการไหลและแรงดันแล้วเหมาะสมกับการใช้งานในระบบครับ
ตัวเลขอัตราการไหลถูกรึเปล่าครับ6000L/minทำไมได้เยอะจังปั้มหอยโข่ง10แรงยังทำไม่ได้ เลยแต่ก็ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
ตอบลบอัตราการไหลของปั๊ม 6000 l/hr ครับ
ตอบลบขอบคุณที่ทักท้วงครับ
Flow Switch ราคาประมาณเท่าไรครับ?
ลบFlow Switch ที่ผมใช้ก็ประมาณ ๑,๙๐๐ บาทครับ หาซื้อได้ตามร้านที่ขายปั๊มหรือร้านขายอุปกรณ์ลูกลอยไฟฟ้าครับ
ลบค่าใช้จายทั้งหมดเท่าไหร่ครับ รวมเจาะบ่อด้วย
ตอบลบค่าเจาะบ่อ ๒๕,๐๐๐
ลบค่าปั๊ม ๑๘,๐๐๐
ค่าตู้คอนโทรลประมาณ ๘,๐๐๐
ค่าขยายสัญญาณไฟฟ้า สายส่ง และเสาไฟ ๕๐,๐๐๐
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบขาย Flow switch ครับ
ตอบลบhttp://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=107611.0
ถ้าเป็นตามที่คำนวน pressure ในแทปน้ำหยด จะต่ำกว่า1barได้หรือไม่ครับ คือผมกำลังงง ในการออกแบบน้ำหยดของตัวเอง ขอบคุณครับ ที่เป็นไก้ไลให้
ตอบลบแรงดันที่เหมาะสมสำหรับระบบน้ำหยดคือประมาณ ๑ - ๑.๕ บาร์ครับ ในกรณีที่ต่ำกว่า ๑ บาร์น้ำก็สามารถไหลได้เช่นกันครับแต่ปริมาณที่หยดอาจจะไม่ได้ตามสเปคของผู้ผลิต ถ้าจะให้ดีไม่ควรให้ต่ำกว่า ๐.๕ บาร์นะครับ ยกเว้นพื้นที่เล็กๆ ระยะเทปไม่ยาวมากก็สามารถใช้แรงดันที่น้อยกว่า ๐.๕ บาร์ได้ครับ
ลบที่บ้านทำเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญอัตโนมัติตอนนี้ใช้ปั้มออโตเมติก2ตัวแต่น้ำไม่พอปั้มจากบ่อบาดาลลึกประมาณ15เมตรท่อหน้า4จะใช้ระบบที่คุณว่าได้ใหมเพราะปั้มจะทำงานทั้งวัน
ตอบลบยิงสรูเกลียวปล่อยแสตนเลสรึป่าวครับที่ข้อต่อสวมล้อคเกลียว
ตอบลบไม่ค่อยแน่ใจครับ แต่คิดว่าไม่ได้ใส่นะครับ
ลบใช้สายน้ำหยดกี่เมตรครับ
ลบ170 เมตรต่อเส้นครับ เปิดได้ครั้งละ 11 เส้นครับ
ลบใช้กับข้าวโพดได้ไม่ครับ
ลบคำนวณน้อยครับ ปั้มซับเมอร์ น้ำไหล 6000 ลิตรต่อชั่วโมง สายน้ำหยด 2.2 ลิตรต่อชั่วโมง ใช้สายกี่เมตรครับ
ลบ