@ ระบบน้ำหยดนั้น มีข้อดีอยู่มากมาย เช่น ประสิทธิภาพการให้น้ำสูงมาก ประหยัดน้ำ สามารถใช้ได้กับพืชและดินหลากหลายชนิด แม้ว่าในระบบน้ำหยดจะเข้ามาในประเทศไทยหลายสิบปีแล้วก็ตาม แต่ระบบน้ำหยดพึ่งจะเข้ามามีบทบาทในวงการเกษตรเมืองไทยเมื่อไม่กี่ปี สาเหตุสำคัญนอกจากเรื่องเงินลงทุนที่ค่อนข้างสูง และความยากในการออกแบบติดตั้งแล้ว ปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งคือ ปริมาณน้ำต้นทุนในเมืองไทยที่มีปริมาณจำกัดมากกว่าในอดีต ฤดูกาลที่เปลี่ยนไป การทำการเกษตรน้ำฝนจึงเป็นการเสี่ยงต่อการขาดทุนมากในปัจจุบัน
@ การออกแบบระบบน้ำหยดนั้น ไม่ได้ยากไปกว่าการออกแบบระบบสปริงเกลอร์เลย เพราะใช้หลักการแนวคิดเดียวกัน ต่างกันแค่ในส่วนของหัวจ่ายน้ำ หากผู้ออกแบบเข้าใจในหลักการของระบบสปริงเกลอร์แล้วก็สามารถทำระบบน้ำหยดได้โดยไม่ยาก
@ บทความบทนี้ จะแนะนำการติดตั้งระบบน้ำหยดในไร่มันสำปะหลัง ซึ่งผู้เขียน และทีมงานได้เป็นที่ปรึกษาให้กับรุ่นพี่ของผู้เขียนเอง คือ ดร.ฮิ ก่อนจะรวมกันกันได้เพราะ ดร.ฮิ มีความต้องการอยากจะติดตั้งระบบน้ำหยดในไร่มันสำปะหลังจำนวน ๓๐ ไร่ และก็พยายามสืบค้นข้อมูลหาวิธรการออกแบบจากแหล่งข้อมูลต่างๆ จนท้ายที่สุดก็ใช้วิธีโทรศัพท์มาถามพรรคพวกซึ่งก็แนะนำมาที่ผู้เขียนและรุ่นน้อง ซึ่งก็รับงานเพราะเป็นพรรคพวกกันมา โดยจะช่วยในส่วนของการออกแบบและแนะนำการติดตั้งให้ เมื่อได้คอนเซปหรือแนวทางการออกแบบคร่าวๆแล้ว ก็มาวางแผนกันทำงาน โดย ดร.ฮิ ได้ดำเนินการขอไฟฟ้าจากการไฟฟ้า จ้างช่างมาเจาะบาดาลไว้รอ (เจาะอย่างเดียว ปั๊มจะเอาลงกันเอง) เริ่มแรกจะติดตั้งก่อนจำนวน ๑๕ ไร่ เพราะอีก ๑๕ ไร่ยังขุดมันยังไม่ได้ขุดหลัง แต่ระบบที่ออกแบบออกแบบไว้ ๓๐ ไร่ จึงไม่มีปัญหาใดๆ เมื่อทุกอย่างพร้อมทางรุ่นน้องผู้เขียนก็ส่งแบบและรายการอุปกรณ์ไปให้ เพื่อจัดเตรียมซื้อของไว้รอ เมื่อทุกอย่างพร้อมก็ผู้เขียนและรุ่นน้องก็มุ่งหน้าไปสู่โคราชกันทันที เพราะมีเวลาทำงานแค่ ๒ วัน คือเสาร์อาทิตย์ กับพื้นที่ ๑๕ ไร่
@ ข้อมูลทางเทคนิค
- ปั๊ม Submersible ยี่ห้อ Pedrollo ขนาด ๑.๕ กิโลวัตต์ คิวออกแบบ ๖,๐๐๐ ลิตรต่อชั่วโมง เฮดออกแบบ ๖๐ เมตร ,บ่อบาดาลลึก ๔๐ เมตร
- ท่อเมนใช้ขนาด ๒ นิ้วเพื่อลดเฮดสูญเสียในท่อ ใช้ท่อยี่ห้อ ท่อน้ำไทย ชั้น ๘.๕
- ท่อเอชดีพีอีที่ใช้ต่อกับปั๊ม ใช้ PN 10
- เทปน้ำหยดยี่ห้อ Plastro ระยะรูหยด (Spacing) ๓๐ ซม. อัตราการหยด ๑ ลิตรต่อชั่วโมง ผลิตที่อิสราเอล ที่เลือกเทปยี่ห้อนี้เพราะสามารถใช้ความยาวต่อเส้นได้ยาวกว่ายี่ห้ออื่นๆในท้องตลาด คือสามารถใช้ความยาวต่อเส้นได้ประมาณ ๒๒๐ เมตร โดยที่ปริมาณน้ำที่หยดยังคงสม่ำเสมอ
*** ค่าลงทุนระบบมินิสปริงเกลอร์ สปริงเกลอร์ และน้ำหยด จะอยู่ที่ประมาณ ๖,๐๐๐ - ๑๐,๐๐๐ บาทต่อไร่ นะครับ
@ สิ่งสำคัญในการออกแบบระบบน้ำทุกครั้งคือ แนวทางการออกแบบหรือ Concept Design เพราะการออกแบบระบบน้ำนั้นไม่มีรูปแบบที่ตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนได้หลากหลายรูปแบบตามแนวทางของผู้ใช้งาน ตัวอย่างในบทความนี้ก็เช่นเดียวกัน ทำตามแนวทางของผู้ใช้งานที่ต้องการติดตั้งระบบน้ำหยดสำหรับมันสำปะหลังโดยใช้น้ำบาดาลเป็นน้ำต้นทุน และต้องการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ค่อนข้างดีโดยเฉพาะเทปน้ำหยดนั้นเลือกใช้ยี่ห้อ Plastro ที่มีข้อเด่นหลายประการโดยเฉพาะสามารถวางระยะต่อแถวได้ยาวเกิน ๒๐๐ เมตรและเป็นเทปน้ำหยดแบบแถบรูหยุดยาวตลอดช่วยให้การอุดตันนั้นยากกว่าแบบอื่นๆ
@ ผู้เขียนเห็นว่าปัจจุบันเกษตรกรมีการลงทุนติดตั้งระบบน้ำหยดสำหรับพืชไร่มากยิ่งขึ้น จึงคิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับเกษตรกรทั่วไป ระบบที่นำมาให้ดูนี้ไม่ได้ดีที่สุดเพราะผู้เขียนเองไม่มีความสามารถในการออกแบบและติดตั้งขนาดนั้น แต่ผู้เขียนยึดแนวทางการออกแบบและทำงาน "ไม่จำเป็นต้องดีที่สุด ขอให้เหมาะสมที่สุดก็เป็นพอ"
- ก่อนที่ผู้ออกแบบจะลงมือออกแบบ ผู้ออกแบบควรเขียนข้อมูลเบื้องต้นต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการออกแบบด้วยทุกครั้ง
@ สิ่งสำคัญในการออกแบบระบบน้ำทุกครั้งคือ แนวทางการออกแบบหรือ Concept Design เพราะการออกแบบระบบน้ำนั้นไม่มีรูปแบบที่ตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนได้หลากหลายรูปแบบตามแนวทางของผู้ใช้งาน ตัวอย่างในบทความนี้ก็เช่นเดียวกัน ทำตามแนวทางของผู้ใช้งานที่ต้องการติดตั้งระบบน้ำหยดสำหรับมันสำปะหลังโดยใช้น้ำบาดาลเป็นน้ำต้นทุน และต้องการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ค่อนข้างดีโดยเฉพาะเทปน้ำหยดนั้นเลือกใช้ยี่ห้อ Plastro ที่มีข้อเด่นหลายประการโดยเฉพาะสามารถวางระยะต่อแถวได้ยาวเกิน ๒๐๐ เมตรและเป็นเทปน้ำหยดแบบแถบรูหยุดยาวตลอดช่วยให้การอุดตันนั้นยากกว่าแบบอื่นๆ
@ ผู้เขียนเห็นว่าปัจจุบันเกษตรกรมีการลงทุนติดตั้งระบบน้ำหยดสำหรับพืชไร่มากยิ่งขึ้น จึงคิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับเกษตรกรทั่วไป ระบบที่นำมาให้ดูนี้ไม่ได้ดีที่สุดเพราะผู้เขียนเองไม่มีความสามารถในการออกแบบและติดตั้งขนาดนั้น แต่ผู้เขียนยึดแนวทางการออกแบบและทำงาน "ไม่จำเป็นต้องดีที่สุด ขอให้เหมาะสมที่สุดก็เป็นพอ"
- ก่อนที่ผู้ออกแบบจะลงมือออกแบบ ผู้ออกแบบควรเขียนข้อมูลเบื้องต้นต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการออกแบบด้วยทุกครั้ง
- ผังขอบเขตพื้นที่
- แบบผังการออกแบบระบบ
- แบบชุดควบคุมหัวแปลง
- เข้าสู่การคำนวณ
- การหาขนาดท่อ
- การหาเฮดสูญเสียในท่อส่งน้ำ
- การหารอบเวรในการเปิดให้น้ำ
- การหาเวลาในการเปิดให้น้ำ
- การคิดค่าไฟฟ้าในการใช้งานระบบ
- รูปการติดตั้งปั๊มบาดาล หย่อยลงไป ๓๕ เมตร
- ประกอบชุดควบคุมหัวแปลง
- เจาะรูท่อ Sub-main เพื่อติดตั้งข้อต่อเทปน้ำหยด
- เครื่องมือเจาะครับ หัวเจาะหัวนี้ ๑,๐๐๐ กว่าบาท แพงไปครับ ใช้โฮลซอว์แทนก็ได้ครับ ถูกกว่าเยอะ
- เจาะแล้วก็ติดตั้งข้อต่อเลย
- แบ่งหน้าที่ดีๆ แป๊บเดียวชุดควบคุมหัวแปลงก็เสร็จเรียบร้อย
- เสร็จแล้วก็ยกไปประกอบได้
- ประกอบท่อเสร็จก็มาวางเทปน้ำหยดกัน ม้วนละ ๒,๒๐๐ เมตร ราคาเมตรละ ๓.๒ บาท
- ลากไปเลยให้สุดแปลง
- ชุดแรก ๑๕ แรก ชุดหลังอีก ๑๕ ไร่
- ติดตั้งเทปน้ำหยดได้
- ทดสอบดู ๑ โซนให้เจ้าของได้ชื่นใจ และเพื่อตรวจสอบว่าได้ตามที่ออกแบบให้หรือไม่ ที่เหลือเจ้าของแปลงวางต่อเอง
- แรงดันใช้งานระบบ เกือบ ๑.๙ บาร์ ใกล้เคียงกับที่ออกแบบมาก (ฟลุ๊คอีกแล้ว) แรงดันใช้งานระบบน้ำหยด ควรอยู่ที่ประมาณ ๑ - ๑.๕ บาร์ ถ้ามากกว่านี้ก็ใช้วาล์วลดแรงดันหรือวาล์วควบคุมแรงดันช่วยเท่านี้ก็สมบูรณ์แบบ
- ตรวจสอบคุณภาพน้ำโดยการเช็คตะกอนที่กรองหลังจากลองเปิด การล้างกรองนี้แนะนำให้ทำบ่อยๆ ป้องกันตะกอนจับกันแน่นที่แผ่นกรอง
- ถ่ายรูปกับ ดร.ฮิ เจ้าของแปลงหน่อย
- ทีมงานเฉพาะกิจ ทำทุกงานตั้งแต่งานสวนหย่อมถึงระบบน้ำเกษตร
@ บทความนี้จบกันเท่านี้ หวังว่าจะช่วยเป็นแนวทางให้แก่ผู้ที่สนใจได้ ข้อสำคัญของผู้ออกแบบระบบน้ำที่ดีคือ ต้องตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้ และสามารถทำงานได้ภายใต้เงื่อนไขที่มี ไม่จำเป็นต้องดีที่สุดขอให้ดีที่สุดก็พอ เพราะคำว่าพอเพียงของแต่ละคนไม่เท่ากัน
@ แปลงนี้รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งงานไฟฟ้า เจาะบ่อบาดาล จ้างที่ปรึกษา (เล็กน้อย) ค่าอุปกรณ์ใช้เกรดบีถึงเกรดเอ จนถึงติดตั้งระบบ รวมประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ บาท ผลผลิตที่คาดไว้เบื้องต้นต้องการเพิ่มจากเดิมไร่ละประมาณ ๒-๓ ตัน ซึ่งจะช่วยให้สามารถคืนทุนการลุงทุนได้ตั้งแต่ปีแรกหรืออย่างช้าไม่เกินปีที่ ๒ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคามันในแต่ละปีอีกด้วย
นายธราวุฒิ ไก่แก้ว
วิศวกรการเกษตร
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
๒๗ เมษายน ๒๕๕๕
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค๊าพี่เปิ้ล
ตอบลบด้วยความยินดีครับ แล้วเจ้าของชื่อนี้เป็นใครเอ่ย ไม่บอกชื่อเสียงเรียงนาม เดาไม่ถูกเลย
ลบดอกสว่านที่ใช้เขาเรียก ขนาดเท่าไรครับ หาซื้อได้ที่ใหนครับ
ตอบลบโฮลซอครับ ตัวในรูปเป็นของนำเข้าครับ เข้าใจว่าตอนนี้ไทยทำออกมาขายแล้วครับ ส่วนของไทยก็มีนะครับ ราคาประมาณ ๑๐๐ กว่าบาทครับ ขนาดที่ใช้ก็ประมาณ ๑๖ มม.
ตอบลบ1.ต้องใส่แสตนเนอร์กรองทรายป่าวครับ
ตอบลบ2.บอลวาล์วจำเป็นต้องมีหรือป่าวครับ
3.เช็ควาล์วใส่ส่วนไหนดีที่สุดครับ
ขอบคุณครับ
๑.ผมใช้กรองแผ่น ๑๒๐ mesh ครับ
ตอบลบ๒.ระบบวาล์วใส่ครับ
๓.เช็ควาล์วถ้าเป็นพื้นราบใส่เฉพาะที่แถวปั๊มครับ ถ้าปั๊มหอยโข่งติดที่ทางออกปั๊มได้เลย ส่วนปั๊มบาดาลผมติดด้านบนครับ เพราะถ้าติดด้านล่างเวลายกปั๊มขึ้นน้ำจะค้างท่อทำให้ยกลำบากครับ
โคราชอยู่ อ. อะไรครับเผื่อมีโอกาสขอเข้าชมเป็นความรู้ครับ. เพราะผมทำระบบที่ อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ ขนาดแปลง30ไร่อีกประมาณ1สัปดาห์จะเสร็จทั้งหมดครับ(มือใหม่ครับ)ปลูกมันสำปะหลังครับ
ตอบลบอยู่ที่ อ.เสิงสางครับ แยกจากหนองกี่ไปประมาณ สิบกว่ากิโล ครับ
ตอบลบบอกชื่อหมู่บ้านได้มั้ยครับผมอยากไปดูแปลง(ถ้าเดาไม่ผิดน่าจะเป็น ดอนอะราง-สุขไพบูรณ์-สมบัติเจริญ ) บังเอิญใกล้บ้านผม อ.หนองบุญมาก ครับ กำลังศึกษาระบบน้ำหยดครับ
ตอบลบอยากทราบว่า 15 ไร่เนี่ยใช้สายน้ำหยดกี่ม้วนค่ะ ?
ตอบลบจำนวนเทปน้ำหยดขึ้นอยู่กลับระยะปลูกครับ
ตอบลบเช่น
ถ้าระยะปลูก ๑ เมตร จะใช้เทปน้ำหยดประมาณ ๑๖๐๐ เมตร
ถ้าระยะปลูก ๑.๒ เมตร จะใช้เทปน้ำหยดประมาณ ๑๓๐๐ เมตร
ถ้าระยะปลูก ๑.๕ เมตร จะใช้เทปน้ำหยดประมาณ ๑๐๐๐ เมตร
เทปแต่ละยี่ห้อมีความยาวต่างกันครับ เช่น ๕๐ เมตร ๑๐๐๐ เมตร ๒๒๐๐ เมตร
ใช้ ซับเมอร์ท อย่างเดียว ลด 200 เมตร โซนละกี่แถวครับ
ตอบลบราคาสายน้ำหยด Plastro ราคาต่อม้วนอยู่ที่เท่าไรครับ และหาซื้อได้ที่ใหนครับ ผมอยู่นครสวรรค์ ปล.มือใหม่ครับ
ตอบลบเช็คล่าสุดตอนนี้เหลืออยู่ ๕ ม้วนครับ ม้วนละ ๒๒๐๐ เมตร บริษัทเคมเทรดนำเข้ามาขายครับ
ลบตัวเลข 567 ของเทปน้ำหยด คิดจากอะไรครับ
ตอบลบเยี่ยมครับ
ตอบลบ