โครงการสวนครัวน้ำหยด(เพื่อน้อง) เป็นโครงการในฝันที่คิดอยากจะทำมานาน คิดไว้เสมอว่าหากวันใดวันนึงมีโอกาสจะทำให้จงได้ และตอนนี้ถึงวันนี้ผมได้ดำเนินการไปแล้ว ๔ โรงเรียนครับ ที่บุรีรัมย์ ๒ โรงเรียน โคราช ๒ โรงเรียนครับ ความสำเร็จของโครงการนั้นไม่ได้คาดหวังอะไรมากไปกว่าอยากส่งเสริมและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านระบบการให้น้ำพืชที่สามารถใช้งานได้จริงในราคาที่ไม่แพงเกินไป เหมาะสมสำหรับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปครับ
ที่มาของโครงการนั้น แม้จะคิดอยากจะทำมานานแต่ก็ใช้ระยะเวลานานกว่าจะมั่นใจในระบบจริงๆ ซึ่งจากการทำโครงการนำร่องเรื่องสวนครัวน้ำหยดในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ทำให้ค่อนข้างจะมั่นใจในข้อดีต่างๆ ของรูปแบบการทำสวนครัวน้ำหยด แต่ทั้งนี้องค์ความรู้นี้ยังไม่ได้รับการเผยแพร่ออกไปสู่เกษตรกรเท่าใดนัก
ถึงอย่างนั้นก็ตาม ผมก็มีความฝันอยู่อย่างหนึ่ง คือจากการชมข่าวของภารกิจโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแล้ว เห็นว่าทางโรงเรียนมีโครงการอาหารกลางวันเด็กนักเรียน โดยมีการปลูกผัก และเลี้ยงสัตว์เป็นต้น แต่จากการเฝ้าสังเกตในภาพข่าว ผมพบว่าการปลูกผักของเด็กนักเรียนนั้น ยังเห็นเด็กตัวเล็กๆ ชั้นประถมศึกษาหิ้วน้ำจากสระน้ำมารดน้ำต้นไม้อยู่ ซึ่งตรงนี้นี่เองที่ทำให้ผมอยากจะเข้าไปช่วยเหลือ โดยการนำระบบสวนครัวน้ำหยดเข้าไปติดตั้งให้เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของเด็กนักเรียน และเป็นการส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีการเรียนรู้เรื่องระบบน้ำไปในตัว ซึ่งจะช่วยให้เด็กนักเรียนสนุกกับการปลูกพืชได้
โครงการนี้จึงถือว่าเป็นการต่อยอดโครงการสวนครัวน้ำหยดด้วยเช่นกันครับ
ถึงอย่างนั้นก็ตาม ผมก็มีความฝันอยู่อย่างหนึ่ง คือจากการชมข่าวของภารกิจโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแล้ว เห็นว่าทางโรงเรียนมีโครงการอาหารกลางวันเด็กนักเรียน โดยมีการปลูกผัก และเลี้ยงสัตว์เป็นต้น แต่จากการเฝ้าสังเกตในภาพข่าว ผมพบว่าการปลูกผักของเด็กนักเรียนนั้น ยังเห็นเด็กตัวเล็กๆ ชั้นประถมศึกษาหิ้วน้ำจากสระน้ำมารดน้ำต้นไม้อยู่ ซึ่งตรงนี้นี่เองที่ทำให้ผมอยากจะเข้าไปช่วยเหลือ โดยการนำระบบสวนครัวน้ำหยดเข้าไปติดตั้งให้เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของเด็กนักเรียน และเป็นการส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีการเรียนรู้เรื่องระบบน้ำไปในตัว ซึ่งจะช่วยให้เด็กนักเรียนสนุกกับการปลูกพืชได้
โครงการนี้จึงถือว่าเป็นการต่อยอดโครงการสวนครัวน้ำหยดด้วยเช่นกันครับ
งบประมาณในการดำเนินการนั้น ส่วนหนึ่งได้มากจากการขอรับบริจาคจากพี่ๆที่ทำงานใน ส.ป.ก. ครับ ซึ่งก็ได้ให้ความอนุเคราะห์อย่างดียิ่ง อีกส่วนหนึ่งก็ได้ครับการสนับสนุนจาก เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีครับ ส่วนเรื่องการประสานกับโรงเรียนต่างๆในจังหวัดบุรีรัมย์ก็ได้ พี่จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต ๒ (น่าจะเขต ๒ นะครับ) ช่วยประสานงานให้ ต้องขอขอบพระคุณผูเกี่ยวข้องและสนับสนุนมากๆครับ
จาก ส.ป.ก. สู่โรงเรียน
จาก ส.ป.ก. สู่โรงเรียน
- อันนี้เป็นโปรชัวร์ที่ทำออกมาเพื่อชี้แจงโครงการครับ (ไม่ได้เอามาประกาศรับบริจาคนะครับ)
ก้าวเล็กๆของผม
@ ไปเริ่มกันเลยนะครับ รายละเอียดของระบบสวนครัวน้ำหยดสามารถหาอ่านได้บทความก่อนหน้านี้นะครับ
๑. โรงเรียนหนองตะครอง อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์
- ออกเดินทางจากกรุงเทพ ๐๓.๐๐ น. มุ่งหน้าสู่นครราชสีมา โดยจุดหมายแรกคือการไปรวมพลกับทีมจากเทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนธานีสุรนารี (มทส.) ถึง มทส. ประมาณ ๐๖.๐๐ น. ตรวจเช็คของให้พร้อม ของพร้อมคนพร้อมรถพร้อม ก็มุ่งหน้าไปที่ อ.ละหานทราย ได้เลย
- ถึงโรงเรียนแล้ว พูดคุยกับคณะอาจารย์ที่มาคอยอำนวยความสะดวกต่างๆ แล้วก็สำรวจสถานที่กันเลย นี่คือแปลงที่ทางโรงเรียนมีอยู่แล้วและต้องการติดตั้งระบบสวนครัวน้ำหยด
- อันดับแรกก็ต้องหาที่ตั้งถังพักกันก่อน นี่ไงเจอแล้ว ใช้เป็นแท่นรองอย่างดีทีเดียว
- อธิบายที่มาที่ไปให้ความรู้นิดๆหน่อยๆก็มาลงมือกันเลย ช่วยกันทั้งอาจารย์และเด็กนักเรียน
- ช่วยกันๆ
- ติดตั้งสายเทปน้ำหยด
- แนะนำวิธีพับปลายสาย
-ลองทำเองดูซิ
- เสร็จเรียบร้อย ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกหน่อย เป็นการเริ่มต้นโครงการโรงเรียนแรกครับ
๒. โรงเรียนส้มป่อย อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์
- วันที่สองตรงกับวันอาทิตย์ ก็เดินทางไปทำโครงการอีก ๑ โรงเรียนครับ ขนของกันแบบนี้เลย
- ขนอุปกรณ์ลงครบก็ลุยเลย เด็กๆ น่ารักมาก
- ช่วยกันเตรียมแปลงกันก่อน
- รับแจกกระเป๋าจากนางฟ้าใจดี มทส.
- น้องๆตั้งใจดีมาก วันนี้แดดร้อนพี่ๆ เทคโนธานี ซื้อขนมกับน้ำมาฝากให้ชื่นใจ จะได้มีแรงทำงานกันต่อ
- เสร็จแล้วก็มานั่งฟังเอาความรู้กันหน่อย
- บรรยากาศสบายๆ คุยกันสนุกสนาน
- อธิบายกันชัดๆ อุปกรณ์แต่ละตัวทำหน้าที่อะไร
- อธิบายเสร็จก็ลองกันเลย เด็กๆ ช่วยกันอย่างตั้งใจ
- ให้ทำเองทั้งหมด
- โรยสายเทปน้ำหยด
- เจาะท่อเพื่อติดตั้งข้อต่อ
- ออกแรงกันหน่อย
- ใกล้แล้วๆ
- เตรียมล้างท่อได้
- พี่ๆ สอนพับปลายสาย
- น้ำออกแล้ว
- ดูดีทีเดียว
- ถ่ายรูปหน่อย
- เด็กๆก็ดีใจ คนทำโครงการก็ปลื้มใจ
๓. ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ โรงเรียนสะแกราช ที่นี่อาจารย์แจ้งว่าต้องการจะปลูกมะละกอ ซึ่งผมเองก็ไม่มีปัญหาแต่ประการใด เพียงดัดแปลงระบบนิดหน่อยจากเทปน้ำหยดมาเป็นหัวน้ำหยดชนิดชดเชยแรงดัน ก็ใช้ได้แล้วครับ
- ตั้งใจกันมากๆ
- เตรียมเริ่มงานกันได้
- ช่วยกันคนละไม้คนละมือ
- วางท่อพีอี
- เป็นรูปเป็นร่างแล้ว
- จัดท่อพีอีให้ได้ตามที่ต้องการ
- เจาะท่อเพื่อติดหัวน้ำหยด
- น้องๆพับปลายสายหลังจากที่ล้างท่อเสร็จแล้ว
- จะพืชชนิดไหนระบบสวนครัวน้ำหยดก็ตอบสนองความต้องการได้ครับ
- เห็นภาพนี้แล้วก็ชื่นใจหายเหนื่อย
- ระบบสวนครัวน้ำหยด ใช้ได้จริงติดตั้งง่าย
- ดีใจทั้งอาจารย์ทั้งลูกศิษย์
๔. โรงเรียนสมเด็จพระธีรญาณมุนี
- น้องๆช่วยกันหาแท่นตั้งถังพักน้ำ
- นั่งฟังบรรยาย
- ตั้งอกตั้งใจกันดี
- ช่วยกันเจาะถังก่อน โดยมี ดร.ฮิ ช่วยสาธิตวิธีการเจาะให้
- เจาะแล้วก็ขัดให้ได้ขนาดที่ต้องการ
- พันเกลียว
- ช่วยกันต่อท่อ
- ดร.ยืนลุ้น
- เติมน้ำถังพัก
- เจาะท่อเพื่อติดตั้งข้อต่อสำหรับเทปน้ำหยด
- ออกแรงเสียบข้อต่อ
- พี่จากเทคโนธานีช่วยน้องวางเทปน้ำหยด
- พับปลายสาย
- เตรียมเทปน้ำหยดให้เพื่อนๆ
- สายไหนยังไม่ใช้ก็ม้วนเก็บไว้ก่อน
- เสร็จแล้วโรงเรียนที่ ๔
- ไม่มีงานเลี้ยงใดไม่มีวันเลิกลา ครั้งนี้ก็เช่นกัน เดินทางกลับมหาวิทยาลัย
@ โครงการเล็กๆ ที่เกิดจากความตั้งใจที่อยากจะเผยแพร่ความรู้ด้านระบบน้ำ ขอขอบคุณ โรงเรียนที่ช่วยให้ความฝันของผมเป็นจริง ขอบคุณพี่เจี๊ยบ น้องเริง น้องนิด จากเทคโนธานีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยรสุรนารี ขอบคุณ ดร.ฮิ ขอบคุณพี่ๆและทุกท่านที่ช่วยบริจาคเงินทุนสำหรับทำโครงการครั้งนี้ ในโอกาสข้างหน้าผมหวังว่าจะมีโอกาสได้ออกไปทำโครงการเช่นนี้อีก ผมหวังเสมอว่าเกษตรกรเมืองไทยจะมีเทคโนโลยีการให้น้ำที่ดีและมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร หวังว่าเกษตรกรจะสามารถนำพาตนเองให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป
ขอบคุณมากครับ
นายธราวุฒิ ไก่แก้ว
วิศวกรการเกษตร
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
๒๔ เมษายน ๒๕๕๕
ขอชมเชยครับ
ตอบลบธวัชชัย นาคะบุตร
ต้องขอบคุณแทนเด็กๆ หายากครับคนที่เห็นประโยชน์กับเด็กกับอนาคตของชาติไทยเรา เห็นแต่คนที่ต้องการกำไรและทุจริต เห็นแก่ตัวครับ/ผอ.โรงเรียน
ตอบลบขอแชร์ และขอนำไปทำใช้เองในสวนครัว
ตอบลบ